ANALYSIS OF BUN KHAO SAK IN BUDDHIST ETHICS OF BAN KHOK LAO COMMUNITY, BA YAO SUB-DISTRICT, WANG SAM MO DISTRICT UDON THANI PROVINCE

Main Article Content

PhraphatPhokhin Thitsaro (Prom Khot)
Prayong Saenburan
Jaras Leeka
Suwin Thongpan
Ausadanit Kotchai

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเพณีบุญข้าวสากของชุมชนชาวอีสานในบริบท
ของชุมชนบ้านโคกเล้า ตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาทฤษฎีทางพุทธจริยศาสตร์ในประเพณีบุญข้าวสาก และ 3) วิเคราะห์บุญข้าวสากในเชิงพุทธจริยศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 21 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี


ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวคิดเกี่ยวกับประเพณีบุญข้าวสากมีแนวคิดประเด็นสำคัญอยู่ 2 แนวคิด คือ 1) เปรตพลี หมายถึง การทำบุญอุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับ 2) กตัญญูกตเวที หมายถึง การรู้จักบุญคุณคนอื่นแล้วตอบแทนบุญคุณ
2. แนวคิดทฤษฎีทางพุทธจริยศาสตร์ ที่เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์หรือคนในสังคม เพื่อการตอบคำถามเชิงเหตุผลต่อคำถามหรือปัญหาที่ว่า บาปบุญมีจริงหรือไม่ เหตุและบทสรุปของการกระทำเป็นเช่นไร โดยใช้ทฤษฎีทางพุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ระดับ มาเป็นเกณฑ์ตัดสิน ดี-ชั่ว ได้คำตอบแต่ละระดับ ดังนี้ 1) เป็นการไม่ทำบาป 2) เป็นการทำกุศลให้ถึงพร้อม 3) เป็นการทำจิตของตนให้บริสุทธิ์
3. การวิเคราะห์ประเพณีบุญข้าวสากในเชิงพุทธจริยศาสตร์ ทำให้บุคคลนั้นได้รับประโยชน์สุข 2 ด้าน คือ 1) อัตหิตประโยชน์ สุขเพื่อตน ซึ่งเป็นการสร้างประโยชน์สุขเฉพาะตนเอง ได้แก่ การทำความดี การสั่งสมคุณงามความดีไว้เพื่อจะได้รับผลในชีวิตหลังความตายจะไปเกิดในภพภูมิที่ดีหรือสุคติภูมิ,
2) ปรหิตประโยชน์สุขเพื่อผู้อื่น ซึ่งเป็นการสร้างประโยชน์สุขให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งการสร้างความสุขเพื่อผู้อื่น เช่น การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

Article Details

How to Cite
Thitsaro (Prom Khot), P. ., Saenburan, P. ., Leeka, J. ., Thongpan, S. ., & Kotchai, A. . (2021). ANALYSIS OF BUN KHAO SAK IN BUDDHIST ETHICS OF BAN KHOK LAO COMMUNITY, BA YAO SUB-DISTRICT, WANG SAM MO DISTRICT UDON THANI PROVINCE. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 8(3), 299–309. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/248708
Section
Research Article

References

กระทรวงธรรมการ. (2408). ฮีตสิบสองและคลองสิบสี่. เวียงจันทร์.

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2537). พจนานุกรมภาษาถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จำนง ทองประเสริฐ. (2540). บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดีย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยาสถาน.

ปรีชา พิณทอง. (2528). ไขภาษิตโบราณอีสาน. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรม. ประเพณีโบราณไทอีสาน.

พระครูใบฎีกาเฉลิมพล อริยวโส (คำเชื้อ). (2554). การศึกษาวิเคราะห์ปุพพเปตพลีที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลาน ล้านนากรณีศึกษาคัมภีร์เปตตพลีฉบับวัดหลวงราชสัณฐาน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.