การประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจ ของชุมชนผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิด ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

Main Article Content

รัชชัย ขยันทำ

Abstract


              งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจของชุมชนผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิด ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร 2) เพื่อศึกษาหลักฆราวาสธรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจของชุมชนผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิดจำแนกตามเพศอายุระดับการศึกษาและการประกอบอาชีพต่างกัน และ 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจของชุมชนผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิดตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธรการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่หาได้โดยเทียบตารางของเครจซี่ (Krejcie) และมอร์แกน (Morgan) จากผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิดที่อาศัยอยู่ในตำบลศรีฐานจำนวน 357 ราย แล้วใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการบรรยาย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือ การทดสอบค่า t-test การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé)


           ผลการวิจัยพบว่า


           1) ผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิดที่ตอบแบบสอบถาม มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจของชุมชนผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิด ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธรโดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทั้งสี่ด้าน (=3.79,S.D.0.52) ลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านการประยุกต์ใช้หลักขันติ (= 4.07, S.D. 0.57) รองลงมาคือด้านการประยุกต์ใช้หลักจาคะ (= 3.79, S.D. 0.48) ด้านการประยุกต์ใช้หลักทมะ (= 3.75,S.D.0.72) และด้านการประยุกต์ใช้หลักสัจจะ (3.55, S.D. 0.68) ตามลำดับ


           2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิด ที่ตอบแบบสอบถาม ที่มีเพศ และอายุ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจของชุมชนผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิด ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร โดยรวมทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกันปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้แต่ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถาม ที่มีระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ การประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจของชุมชนผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิด ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร โดยรวมทั้ง 4 ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


3) ผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิดได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจของชุมชนผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิด ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธรโดยรวมทั้ง 4 ด้านลำดับข้อที่มีค่าความถี่จากสูงไปหาความถี่ต่ำสามอันดับแรก คือ ผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิดควรมีการเสียสละ การบริจาค และการแบ่งปันแก่ผู้อื่น รองลงมา คือ ควรมีการทำบุญบริจาคทานในบวรพระพุทธศาสนาตามศรัทธาและควรมีจิตอาสาในการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นและควรมีการประชุมกันเพื่อกำหนดราคากลางของสินค้าให้เท่ากันตามลักษณะ ขนาด และลวดลายให้เป็นราคามาตรฐาน ตามลำดับ


               The objectives of the research paper are aimed to: 1) to study the applicationtheprinciples for Gharavasa-dhamma to communiti  economic the of handicrafts producer in TambonSritan, Patui District,Yasothon Province2)To study the principles for Gharavasa-dhamma to communiti  economic the of handicrafts producer by sex, age, education level and different occupations, and 3) closely examine their suggestions, on exercising their rights to cast the ballot for handicrafts producer in TambonSritan, Patui  District, Yasothon Province. The questionnaire was used to collect data from the available sample group of 357. Handicrafts producer their rights to cast the ballot by the juxtaposition of Krejcie’s and Morgan’s ready-made table, and followed by stratified sampling.Data were analyzed by descriptive statistics: frequency, percentage, mean, and standard deviation, and referential statistics: t-test and F-test (One-way ANOVA). In case the statistically significant differences of mean were encountered, their pair-wise ones were tested with Scheffe’s method.


              The research results were found as follows:


1) Respondents’ opinions on exercising rights to cast the ballot for the principles for Gharavasa-dhamma to communiti economic the of handicrafts producer in TambonSritan, Patui  District, Yasothon Province,  Overall  the 4 aspects are very high. When considering each aspect at a high level, all four aspects (= 3.79, S.D. 0.52) Order by average from high to low. Is found Khanti: the application of the principle of tolerance(= 4.07, S.D. 0.57) SecondaryCaga : the application of the liberality or generosity (= 3.79, S.D. 0.48),Dama : the application of the taming and training oneself (= 3.75, S.D. 0.72) and Sacca : the main application of truth and honesty(= 3.55, S.D. 0.68) respectively


              2)The hypothesis testing results revealed that handicrafts producer Respondents with different sexes and ages.Have a comment onthe principles for Gharavasa-dhammato  communiti  economic the of handicrafts producer in TambonSritan, Patui  District, Yasothon Province . All four aspects were not different. Rejected Assumptionsbut handicrafts producer.Answerer There are different levels of education and occupation. Have a comment on the principles for Gharavasa-dhammato  communiti  economic the of handicrafts producer, Including 4 different aspects.Statistically significant at the .05 level.Followed by the assumptions set.


              3) Respondents’ suggestionson the principles for Gharavasa-dhamma to  communiti  economic the of handicrafts producer in TambonSritan, Patui  District, Yasothon Province, Including 4 sides.High frequency order from high to low frequency.The first three are: handicrafts producer, there should be sacrifice, donation, and sharing to others. Secondary there should be merit making in the Buddhist  faith.And should volunteer to develop more.Should be convened to set the average price of the product to the same size and pattern.The price is standard respectively.


Article Details

How to Cite
ขยันทำ ร. . (2018). การประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจ ของชุมชนผู้ผลิตหมอนขวานผ้าขิด ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(2), 482–493. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243825
Section
Research Article

References

Si Sa-at, B. (2000). Preliminary research. (6th ed.). Bangkok : Suviriyasarn Publishing