การพัฒนาครูของครูในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะ 7 ประการ ของบัณฑิตตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาครูของครูในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาครูของครูในศตวรรษที่ 21 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูของครูในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาครูของครูในศตวรรษที่ 21 ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาครูของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพชั้นปีที่ 4-5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 500 คน เลือกแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาครูของครูในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะ 7 ประการของบัณฑิตตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574 หลักสูตรฝึกอบรมคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนฝึกอบรมและหลังฝึกอบรม แบบสังเกตการปฏิบัติงานในการจัดกิจกรรม แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและการทดสอบค่า (T-Test DependentSample) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาครูของครูในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะ 7 ประการตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2574 ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยสรุปผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์ของคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ที่พัฒนาขึ้นมีความเที่ยงตรงสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=146.46, df=85, P-value=0.755, GFI=0.98, AGFI=0.82, RMSEA=0.06) และผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาครูของครูในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะ 7 ประการของบัณฑิต ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2574 พบว่าค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล ดังนี้
1) อิทธิพลทางตรง 2 ปัจจัย คือ (1) ปัจจัยด้านการพัฒนาตนเอง และ
(2) ปัจจัยด้านนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา
2) อิทธิพลทางอ้อม 5 ปัจจัย คือ (1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของอาจารย์ มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านปัจจัยด้านการพัฒนาตนเองและปัจจัยด้านนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา (2) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของอาจารย์ มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านปัจจัยด้านการพัฒนาตนเอง (3) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของอาจารย์มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านปัจจัยด้านนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา (4) ปัจจัยด้านเจตคติต่อวิชาชีพครูมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านปัจจัยด้านการพัฒนาตนเอง และ (5) ปัจจัยด้านเจตคติต่อวิชาชีพครูโดยส่งผ่านปัจจัยด้านการพัฒนาตนเองและปัจจัยด้านนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะ 7 ประการของบัณฑิต ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2574 คือ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของอาจารย์ ปัจจัยด้านเจตคติต่อวิชาชีพครู ปัจจัยด้านการพัฒนาตนเองและปัจจัยด้านนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวแปร
2.ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครูของครูในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะ 7 ประการของบัณฑิตตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2574 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ ความเป็นมาของหลักสูตร จุดประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร กำหนดขั้นตอนการฝึกอบรมตามหลักสูตรแบบทดสอบก่อน-หลังการฝึกอบรมและแบบสังเกตทักษะการปฏิบัติงานและแบบสอบถามความพึงพอใจในต่อหลักสูตรฝึกอบรม
3. ผลการศึกษาจากการนำหลักสูตรไปใช้กับครูของครูในศตวรรษที่ 21 พบว่าครูของครูในศตวรรษที่ 21 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาครูของครูในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะ 7 ประการ ของบัณฑิตตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2574 หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, ครูของครูในศตวรรษที่21 มีทักษะการปฏิบัติงานอยู่ระดับมากที่สุดและมีความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this study were 1) to study the structural model of factors affecting the development of teacher of teachers in the 21st century; 2) to develop a training curriculum on teacher of teachers development in the 21st century and 3) to study the outcome of the author's training curriculum on teacher of teachers development in the 21st century. The study was divided into 2 phases. The study of factors affecting the development of teacher of teachers in the 21st century to promote 7 scholarly skills in conformation with Thailand's National Scheme of Education B.E. 2560 - 2574 (2017 - 2031) was carried out in the first phase. The results from the first phase was then used to develop a training curriculum on teacher of teachers development. There were 2 sample groups. The sample group for the first phase was 500 4th and 5th year teacher students in the 1st semester of academic year B.E. 2560 (2017) who were selected with multi-stage sampling, while the sample group in the second phase was 20 teachers in the Faculty of Education, SakonNakhonRajabhat University. The tools employed were an opinion survey questionnaire on factors affecting the development of teacher of teachers in the 21st century to promote 7 scholarly skills in conformation with Thailand's National Scheme of Education B.E. 2560 - 2574 (2017 - 2031), a training curriculum on professional teacher in the 21st century, knowledge test, an observation form on training activities and a satisfaction survey questionnaire towards the developed curriculum. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation (S.D.), percentage, t-test dependent samples and structural equation modeling (SEM).
The study yields the following results.
1. The assessment result shows the congruence between the developed structural model of factos affecting the development of teacher of teachers in the 21st century to promote 7 scholarly skills in conformation with Thailand's National Scheme of Education B.E. 2560 - 2574 (2017 - 2031) and empirical data with Chi-Square=146.46, df=85, P-value=0.755, GFI=0.98, AGFI=0.82, RMSEA=0.06.And the result of direct, indirect and total effect of factors affecting the development of teacher of teachers in the 21stcenturygives the following results: 1) 2 factors on direct effect, namely (1) self-development and (2) innovation in instructional management of students; 2) 5 factors on indirect effect, namely (1) teacher characteristics, which has an indirect effect through the factors on self-development and innovation in instructional management of students, (2) teacher characteristics, which has an indirect effect through the factor on self-development, (3) teacher characteristics, which has an indirect effect through the factor on innovation in instructional management of students, (4) attitude towards teaching profession, which has an indirect effect through the factor on self-development and (5) attitude towards teaching profession, which has an indirect effect through the factors on self-development and innovation in instructional management of students; 3) total effect of factors affecting 7 scholarly skills in conformation with Thailand's National Scheme of Education B.E. 2560 - 2574 (2017 - 2031) are factors on teacher characteristics, attitude towards teaching profession, self-development and innovation in instructional management of students with a statistical significance in all variables.
2. The author's training curriculum development on teacher of teachers development in the 21st century to promote 7 scholarly skills in conformation with Thailand's National Scheme of Education B.E. 2560 - 2574 (2017 - 2031) comprises 6 components, which are background, objectives, structure, training process, knowledge test, an observation form on training activities and a satisfaction survey questionnaire towards the developed curriculum.
3. The result from the implementation of the author's training curriculum shows that the participants' understanding on 7 scholarly skills in conformation with Thailand's National Scheme of Education B.E. 2560 - 2574 (2017 - 2031) after training is higher than that before training at the .01 level of significance. The operational skill of participating teachers is at the highest level, and their satisfaction towards the author's training curriculum is at the highest level.
Article Details
References
Khongteam, S. (2013). The Devlopment of Training Curriculum to Enhance Analytical Thinking Instruction Abilty for Teachers in the Office of Basic Education Commission. Phetchabun : PhetchabunRajabhat University. Moonded,K. (2012). The Development of Training Course Curriculum in Evaluation andMeasurement of Learning Outcomes. Faculty of Education : PhetchabunRajabhat University. Manyat, S. (2011). A Structural Equation Model of Factors Affecting Ethical Leadership of School Administrators under the Department of Local Administration. Doctoral thesis. Graduate School : Khonkaen University. NaterungYoucheroen. (2010). Causal Relationships of Factors Effected to Personal Participation in Educational Quality Assurance of Teachers in Vocational Colleges in Bangkok. Master thesis. Graduate School : Srinakharinwirot University. Phasantree, T. (2012). Teacher Developing Models of Students in NakhonPhanom University. NakhonPhanom University Journal, 2(3), 25-32. The Secretariat of the Council of Education Ministry of Education. (2017). The National Education Plan, 2017 - 2031. Online. Retrieved March 30, 2016. From : https://goo.gl/I7orto Tyler, Ralph. (1969). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago : the University of Chicago Press. Wattano, P. (2011). Causal Factors Which Influence Professional Morality Conduct of Teachers in the Northeastern Part of Thailand. NIDA Development Journal, 53(1), 134-159.