ปัจจัยที่มีผลต่อนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสีชมพู จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พระนิทัศน์ ธีรปญฺโญ วงศ์วังเพิ่ม
กิตติพงษ์ พิพิธกุล

Abstract


               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสีชมพู อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสีชมพู อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่นประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสีชมพู อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่นจำนวน 3,753 คน กลุ่มตัวอย่าง คำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ Yamane (1967 : 2) จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.917 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ


           ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นต่อนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสีชมพู มีการจัดการอยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับที่มีค่าสูงเฉลี่ยสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ รองลงมา คือ ด้านระบบการจัดการ และด้านอุปกรณ์ และยานพาหนะ 2) ตัวแปรที่อิทธิพลต่อนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมชมชนในเขตเทศบาลตำบลสีชมพูได้แก่ปัจจัยพฤติกรรมการมีส่วนร่วม และปัจจัยด้านรายได้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ 0.39 มีอำนาจในการพยากรณ์ได้ ร้อยละ 39


              This thesis aims to study: 1) Public opinion on community environmental management policy in Sichomphu Municipality, 2) factors influencing community environmental management policy in SichomphuMunicipality. The population was 3,753 people in Sichomphu Municipality, Sichomphu District, KhonKaen Province. The samples was calculated from the recipe of Taro Yamane’ formulation number 361. The instrument used to collect data was a questionnaire. The reliability was 0.917. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, pearson Product Moment Correlation and Multiple Regression Analysis.


              The results are as follows: 1) Opinions on community environmental management policy in Sichomphu Municipality, management is at a high level both overall and individual. When considering each aspect, it was found that the level was high in all aspects. The highest average to lowest ranking was the officer side, followed by the management system and equipment and vehicles, 2) the variables influencing environmental management policies in SichomphuMunicipality were the participation factors. and the revenue factor. The coefficient of forecast (R2) was 0.39 and the power of forecast was 39%.


Article Details

How to Cite
ธีรปญฺโญ วงศ์วังเพิ่ม พ. ., & พิพิธกุล ก. (2018). ปัจจัยที่มีผลต่อนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(2), 231–242. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243803
Section
Research Article

References

Srisathitnaranugoon, B. (2012). Development and validation of research tools :Psychological Measurement Features. Bangkok : Printing of Chulalongkorn University. Sunthornwaritthichord, N. (2013). Factors affecting the development of natural resources and environment of the people in Sammat Sub District.Research Report.Faculty of Humanities and Social Sciences. Graduate School : Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. Tepayakun, R. (2012). Solid Waste Management Behaviors of Households in TambonTambon Administrative Organization, Betong District, Yala Province.Research Report. Graduate School : Hatyai University. Thawhin, K. (2013).Solid waste management behavior in 3R (Reduce, reuse, recycle) model of people in Chonburi municipality Mueang Chon BuriChonburi province. Master's thesis. Graduate School : Burapa university. Vajarodaya, P. (2014). Waste Management of Local Government Organizations : A Case Study of Sub District Municipality, Klaeng District, Rayong Province. Master's thesis. Graduate School : National Institute of Development Administration.