กรอบแนวคิดการออกแบบสำหรับแนวทางการพัฒนาการออกแบบเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

Main Article Content

วันวิสาข์ วรรณพิพัฒน์
พันธวุธ จันทรมงคล
อรวรรณ ปริวัตร
จรัส ลีกา

Abstract

               การศึกษาเรื่องกรอบแนวคิดการออกแบบสำหรับแนวทางการพัฒนาการออกแบบเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดการออกแบบเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยเอกสาร (DocumentAnalysis) และการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเป็นเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 100 เว็บไซต์ และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 เว็บไซต์ จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบการวิเคราะห์เอกสารและกรอบแนวคิดการออกแบบเว็บไซต์
ภาคภาษาอังกฤษสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 2 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกการตรวจสอบเอกสาร 2) แบบบันทึกการสังเคราะห์โครงร่าง แนวคิดการสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี และ 3) แบบบันทึกการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม


        ผลการศึกษาพบว่า กรอบแนวคิดการออกแบบฯ ประกอบด้วย 1) พื้นฐานด้านบริบทคือเว็บไซต์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือพานิชย์อิเล็คทรอนิกส์เวอร์ชัน 2.0และไวยากรณ์และคำศัพท์ภาษาอังกฤษธุรกิจ ประกอบด้วย มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ และ เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ดีเด่น 2) พื้นฐานด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ คือทฤษฎี SOIModel และ 3) พื้นฐานด้านทฤษฎีทางเทคโนโลยีและสื่อ ประกอบด้วย คุณลักษณะของสื่อและระบบสัญลักษณ์สื่อต่อการออกแบบเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและขนาดย่อม


 


       The Designing Framework for the Development of SMEs Websites Designing Guidelines in English versionwas purposive to develop the conceptual frameworkfor the Small and Medium Enterprise (SMEs) Website.DocumentAnalysisand Survey method were used to collect the qualitative data in this phrase.The target group were100 SEMEs websites which10out of them were selected by Purposive Sampling as the sample group, and 2experts to evaluate the analysis of document and designing framework. The instruments used consisted of 1) document evaluation form, 2) theoretical framework evaluation form, 3) designing framework evaluation form. The result was found that the conceptual framework consisted of 1) Contextual base: SMES/ E-Commerce websites (Government Website Standards Version 2.0 and Outstanding E-Commerce website award) and business English vocabulary and grammar, 2) Psychological learning base: SOI Model, and 3) Technological and media theory base: media attribute

Article Details

How to Cite
วรรณพิพัฒน์ ว. ., จันทรมงคล พ. ., ปริวัตร อ., & ลีกา จ. . (2018). กรอบแนวคิดการออกแบบสำหรับแนวทางการพัฒนาการออกแบบเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(2), 188–198. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243799
Section
Research Article

References

Chaijaroen, S. (2008). Educational Technology : Principles Theories to Practices. KhonKaen : Klungnanawittaya. Department of Business Development. (2016). Outstanding E-Commerce Website. Online. RetrievedJanuary 21, 2018. From : https://www.trustmarkthai.com/index.php/component/dbd/main? layout=newsdetail&id=103 Electronic Government Agency (Public Organization). (2017). Government Website Standard Version 2.0. Online. Retrieved January 21, 2018. From : https://www.ega.or.th/th/profile/888/ Wannapipat, W. (2009).Business English.KhonKaen:Amarin Copy.