รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

Main Article Content

ภูวเดช สินทับศาล
พระครูสุธี คัมภีรญาณ

Abstract

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและเชิงคุณภาพ


           ผลการวิจัย พบว่าหลักการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีองค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) สิ่งดึงดูดโน้มน้าวให้เกิดความสนใจปรารถนาที่จะไปท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยว2) สิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับการเดินทางท่องเที่ยว 3) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ต้องมีสื่อประชาสัมพันธ์ หรือเจ้าหน้าที่มัคคุเทศให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ท่องเที่ยว


           รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วยการจัดทำผังการใช้สอยพื้นที่ การจัดทำแผนพัฒนาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวและการจัดทำแผนฟื้นฟูโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ การจัดการระบบสื่อความหมาย ได้แก่ การจัดทำฐานข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ในระบบสารสนเทศ


สื่อประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรมประเพณี วัฒนธรรมหรือเทศกาลสำคัญ การบริหารจัดการบุคลากรการท่องเที่ยว การพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอำนวยความสะดวกในอุทยานประวัติศาสตร์ ในด้านการท่องเที่ยวและการพัฒนาจริยธรรมในการให้บริการนักท่องเที่ยว ที่สำคัญการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชนบริเวณใกล้เคียงต้องมีส่วนร่วมในการสนับสนุน โดยให้ถือว่าทุกคนมีหน้าที่ดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ


           กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์ประกอบด้วยประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นหลักและประเพณีท้องถิ่นมีการสร้างกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดซึ่งมีผลต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยว


 


           The research has three purposes.; 1) to study the principles of cultural tourism management,2)to study the cultural tourism management model in Sukhothai Historical Park, 3) to analyze patterns the cultural tourism management model in Sukhothai Historical Park,this research is the Documentary Research and qualitative research.The research found that;


              Principles of Cultural Tourism Management.1)Things to attract to the tourist attraction, 2)Convenience for tourists, 3)Get knowledge from the media Or staff provide information related to tourist attractions.


              Tourism resource management is the planning of the historical park, and the development of a short and long-term historical park development plan, and the plan for the restoration of historic sites in the park. Management of interpretation systems, including the provision of information and database of attractions in the historical park in the information system, and public relations, and important culture or festivals. The tourism human resources management is staff development facilitator in the historic park In the field of tourism, the development of ethics in tourist services and the importance of cultural tourism management in Sukhothai Historical Park. Every part of the community, especiall y the neighboring communities, must take part in the care of all people in charge of maintaining the national heritage.


          Tourism activities in the historical park include Buddhist traditions.and local traditions there are tourism activities that show the identity of the province.This affects the attractiveness of tourists.


 

Article Details

How to Cite
สินทับศาล ภ. ., & คัมภีรญาณ พ. (2018). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(2), 177–187. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243798
Section
Research Article

References

Kasetsiri, C. (1997). Cultural Tourism.Bangkok :The Thailand Research Fund(TRF). PhrabaideekaSanehYanamethi, et al.(2013).The Model and Process of BuddhistTourism Management in The North Thailand: The Learning to Create on History and Cultures.Bangkok:National Research Council of Thailand(NRCT), and The Thailand Research Fund(TRF). PhramahaThoengsuk.(2002). The Influence of Buddhism on the Thai way. Master's thesis.Graduate School :Mahamakut Buddhist University. PhramahaWicharnLeiwSeng (2003).Buddhist art and tourism: A study of TheRole of Temples in the Preservation of Buddhist art for Tourism. Master's thesis.Graduate School :MahidolUniversity.