คุณสมบัติของพระนักเผยแผ่ที่พึงประสงค์ในสังคมยุคใหม่
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาศึกษาสภาพปัจจุบันของพระนักเผยแผ่ในอำเภอเสลภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด และเสนอคุณสมบัติของพระนักเผยแผ่ที่พึงประสงค์ในสังคมยุคใหม่ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และมีการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในอำเภอเสลภูมิ โดยกำหนดคุณสมบัติกลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผยแผ่ ได้แก่ 1.พระนักเผยแผ่ 10 รูป
2. อุบาสกอุบาสิกา 10 คน 3. หน่วยงานราชการ 10 คน 4. เยาวชน 10 คน รวม 40 รูป/คน แล้วนำมาวิเคราะห์ สงเคราะห์ ประกอบเนื้อหาให้สมบูรณ์
ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันของพระนักเผยแผ่ในอำเภอเสลภูมิ มีวิธีการเผยแผ่ธรรมะหลากหลายวิธี มีเผยแผ่ในรูปแบบพิธีกรรม วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา งานบุญประเพณี การแสดงธรรมในวันพระ และการจัดในรูปแบบธรรมะสัญจรตามหมู่บ้าน โรงเรียน โดย การเทศนาบรรยายการปาฐกถา และการสนทนาธรรม เป็นการดำเนินงานของคณะสงฆ์ในแต่ละพื้นที่ซึ่งรวมกลุ่มกันทำในลักษณะจิตอาสา โดยไม่มีงบประมาณสนับสนุน หลักธรรมที่ใช้ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการอดทน กตัญญู การเสียสละ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม การให้ทาน ส่วนหลักธรรมอื่นที่เผยแผ่ ได้แก่ หลักของศีล 5หลักธรรมการครองเรือน ครองคน ครองตน ครองงาน อริยสัจ 4 ฆราวาสธรรม พรหมวิหาร หลักความซื่อสัตย์อดทน ความเป็นกัลยาณมิตรของพระนักเผยแผ่ พบว่ามีการสร้างบรรยากาศให้สนุกสนานมีความสามารถ รู้จริง เก่งจริงเผยแผ่โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนเป็นผู้ที่อดทน มีความเมตตา น่าเคารพนับถือ และมีการใช้โวหารที่ดีในการแสดงธรรมคุณสมบัติของพระนักเผยแผ่ที่พึงประสงค์ในสังคมยุคใหม่ในเขต อำเภอเสลภูมิ พบว่า พระนักเผยแผ่ที่พึงประสงค์ในสังคมยุคใหม่ควรเป็นที่น่ายกย่องเป็นผู้ทรงศีลเป็นแบบอย่างที่ดี
ยึดโอวาทปาติโมกข์เป็นหลักมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหลักธรรมภาษา มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีประสบการณ์ มีอุดมคติ มีความประพฤติดี รักในการเผยแผ่มีความอดทน เป็นนักเสียสละที่ดีเป็นผู้ที่มีวิธีการเผยแผ่ที่หลากหลาย มีวิธีการที่น่าสนใจ มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมเป็นอย่างดี มีรูปแบบการเผยแผ่ที่หลากหลายน่าสนใจ สำหรับวิธีการและหลักธรรมที่เผยแผ่ในสังคมยุคใหม่ พบว่า ควรใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อให้เข้าถึงและเท่าทันกับสภาพสังคมปัจจุบัน มีสื่อธรรมะที่เข้าใจง่ายไม่น่าเบื่อ คนฟังสนุกแฝงด้วยข้อคิดและคติธรรมเตือนใจ ใช้เทคโนโลยีประกอบเพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้าใจง่ายขึ้นรวดเร็วซึ่งเป็นสื่อออนไลน์ที่นิยม ควรมีการเผยแผ่เชิงรุกในชุมชนหรือนอกสถานที่ตามหน่วยงานเอกชน สถานที่ราชการ องค์กร ควรมีการบูรณาการร่วมกันกับภาคีเครือข่ายมีการจัดทำแผนกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการเผยแผ่ธรรมะร่วมกันกับทุกภาคส่วน จัดสรรงบประมาณสนับสนุน หลักธรรมของพระนักเผยแผ่ที่พึงประสงค์ในสังคมยุคใหม่เป็นหลักธรรมที่ในทางพระพุทธศาสนาที่คนส่วนใหญ่สามารถนำไปปฏิบัติได้และให้ผลจริงในชีวิตประจำวัน เป็นหลักธรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตของคนในสังคมได้ เหมาะกับทุกสาขาอาชีพ เช่น หลักอริยสัจ 4 ไตรสิกขา พรมวิหาร ศีล 5 ศีล 8 หลักอิทธิบาท 4 มรรค 8 และที่ไม่ขัดกับหลักธรรมคำสอนของพระศาสดา การบูรณาการหลักธรรมเข้ากับสภาพแวดล้อม สร้างองค์ความรู้และการใช้สื่อสมัยใหม่ในการสอนธรรมะได้อย่างรวดเร็ว กระชับ ฉับไว และสะดวก
The objectives of this research were: 1) to study the theory of Buddhist missionary; 2) to study the current situation of the Buddhist missionary monks in Seraphum district, Roiet province, Thailand; 3) to present the quality of the desirable Buddhadhamma missionary in the modern society in the area of Seraphum district, Roiet province, Thailand. This research was conducted based on Qualitative Research Methodology studying from the related document and acquiring the data from the field workby doing interview with the target population in Seraphum district, Roiet province, and the fixed quality of the target population were: the groups of Buddhist missionary monks 10 in numbers, 10 of the lay Buddhists, 10 of the representative from the governmental organization, and the groups of the youth 10 in numbers, 40 in total and then analyzing, synthesizing and concluded.
The result of the study found that, for the current situation, the Buddhist missionary monks in Seraphum applied different methods in doing their works such as engaging with Buddhist ritual practices,organizing activities on Buddhist important days, through local tradition, giving the dhamma talk on Buddhist observance days, and traveling for giving the dhamma talk and discussion in villages and schools. However, this was done differently in specific area by the groups of the Sangha that volunteer to do without any profit and support. The principles that their hold up mostly were patience, gratitude, contribution, sharing, sincere, public mind, and generosity. While for the Buddhist principles that the Buddhist missionary monks likely presented were the Five Precepts (Pañcasila), Virtues for the Good Household Life (Gharavasa-dhamma), the Four Noble Truth (Ariyasacca), the Four Subline State of Mind (Brahmavihara), honesty and patience. For the case of being the good friendship (Kallayanamitta) of the Buddhist missionary monks, they likely to make fun atmosphere in training, be able to elaborate the doctrinal point, doing the moral training without any profit or any gain in return, be nice and kindful, smart in using word in perching the dhamma. The methods and principles that should be presented in the modern society should be conducted with various techniques and answer the social crisis, using attractive and easy understanding teaching material together with modern online social media that the youth clinging on, closely approaches in the community should also considered at the very first place for instance, governmental office, organization, and there should be working network in which it have supporting budget and planning target to be accomplished together. The doctrinal principles that the qualified Buddhist missionary monks should be presented in the modern society were the principles that could reach in all walk of life in daily life; in other word, it could resolve the problem of earning living for them, for instance, the Four Noble Truths, Threefold Training (Tisikkha), Four Subline States of Mind, Five Precepts, Eight Precepts, Noble Eightfold Path and those dhamma must not be against to the teaching of the Buddha. Forintegration of the dhamma principles with current environment, there should be result in body of knowledge that arisen from applying the modern media in teaching the dhamma with fantastic means thatbe convenient, easy to understand, practicable, and obtained the advantages.