แนวทางการบริหารจัดการเพาะปลูกและขยายพันธุ์ ผักหวานพืชเศรษฐกิจในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ
สุรเดช ไสยกิจ
กิตติพงษ์ พิพิธกุล
ลักขณา อินทร์บึง

Abstract

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเพาะปลูกและขยายพันธุ์ผักหวานในจังหวัดขอนแก่น ศึกษาเงื่อนไขแห่งความสำเร็จและความล้มเหลวในการเพาะปลูกและขยายพันธุ์ผักหวานในจังหวัดขอนแก่น และแนวทางารบริหารจัดการเพาะปลูกและขยายพันธุ์ผักหวานในจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 24 คน ประกอบด้วย เกษตรกรผู้เพาะปลูกและขยายพันธุ์ผักหวานที่ประสบผลสำเร็จ ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอน้ำพอง และอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 13 คน กลุ่มเกษตรกร ผู้ทดลองและปลูกผักหวาน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น จำนวน 8 คน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 2 คน เกษตรอำเภอ จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์  กึ่งโครงสร้าง แนวทางการสัมภาษณ์ แนวทางการสังเกต แนวทางการสนทนากลุ่ม แบบประเมินผลการดำเนินงาน วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive analysis)


           ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารจัดการเพาะปลูกและขยายพันธุ์ผักหวานในจังหวัดขอนแก่น ด้านแรงงาน เป็นแรงงานในครอบครัว ด้านการเงิน มีรายได้จากการขายใบอ่อน ขายต้นกล้า ขายเมล็ดพันธุ์ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ ถุงขนาดยาวใส่ต้นกล้า ด้านการตลาด ขายผลผลิตที่สวนที่ไร่ ด้านการจัดการทั่วไป เกษตรกรได้เพาะปลูกผักหวานกับ ต้นลำไย ห่าง 2 เมตร ปลูกกับต้นตะขบ และปลูกกับต้นแค ห่าง 1 ศอก (2) เงื่อนไขแห่งความสำเร็จและความล้มเหลวในการเพาะปลูกและขยายพันธุ์ผักหวาน เงื่อนไขแห่งความสำเร็จฯ ปัจจัยภายใน ได้แก่ เกษตรกรมีความอดทน ความตั้งใจจริง ความคิดริเริ่มในทางที่ดี สนใจใฝ่เรียนรู้อยู่เสมอ คิดค้นและทดลอง ปัจจัยภายนอก ได้แก่ เกษตรกรได้นำแนวคิดจากธรรมชาติของผักหวานที่เกิดในดงป่ามาปรับเปลี่ยนวิธีปลูกให้สอดคล้องกับธรรมชาติและสร้างเครือข่ายภาครัฐและเอกชนให้การเผยแพร่ข้อมูล ขาดความสนใจใฝ่รู้จากการเพาะปลูกผักหวาน ขาดความอดทนพากเพียร และ (3) แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มเพาะปลูกและขยายพันธุ์บ้านท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น หลังจากเกษตรกรได้รวมกลุ่มเพาะปลูกและขยายพันธุ์ผักหวาน และได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการกลุ่ม การเพาะปลูกและขยายพันธุ์ผักหวานของเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จขั้นตอนการดำเนินการเพาะปลูกผักหวาน ควรนำความรู้และประสบการณ์ได้ที่รับ ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ ประธานกรรมการกลุ่มควรมีภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตย กรรมการกลุ่มควรปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่ง ควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม มีความสนใจใฝ่รู้ จึงจะประสบผลสำเร็จ


 


           The objectives of this research were to study the cultivation and propagation of Pug Wan administration and to study conditions for success or failures of Pag Wan cultivation and propagation in Khon Kean. The 24 informants included 13 successful farmers in Muang, Numphong and Phon districts, 8 experiment planters of Pag Wan in Manjakiri district, 2 staff of Tumbon Administrative organization and 1 district agriculture officer. The research instrument consisted of semi-structured interview, observation forms and training documents. The data were descriptively analyzed


           The research findings were as follows: (1) The administration of cultivation and propagation of Pag Wan following aspects were involved: labour, marketing and general management. (2) The success condition included the farmers endurance, intention initiative, eagerness to learn, research and experiment, Besides, the farmers must know the techniques to adapt the planning of Pag Wan which naturally grows in thick forest in plain setting. The condition for failures had to do with the planters lack of serious study from successful farmers, lack of eagerness to learn and lack of endurance. and (3) As for guidelines for group management of Pag Wan cultivation and propagation, the organization and training of farmers in Ban Tasala, Manjakiri district indicated that the democratic leadership of the chairman and the  committee is crucial. They should do their duties appropriately and stress the participation of group members, motivating their eagerness to learn. That way only will lead to success.

Article Details

How to Cite
กฤษณะภูติ ว. ., ไสยกิจ ส. ., พิพิธกุล ก. ., & อินทร์บึง ล. . (2018). แนวทางการบริหารจัดการเพาะปลูกและขยายพันธุ์ ผักหวานพืชเศรษฐกิจในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 5(2), 96–107. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243780
Section
Research Article

References

Chitchai, T. (2010). Knowledge management of vegetarian populations in Srivichai subdistrict. Wanonnoi District Sakon nakonn. Independent Study Master of Public Administration Local government : Khonkaen University. Khon Kaen Provincial Administrative Office. (2014). Information about local administration in Khon Kaen. Khon Kaen : Department of Local Administration. Krisanaputhi, W. (2012). “Pag Wan” From the past to the future. Khon Kaen : Khlangnanawitthaya Publishers. Krisanaputhi, W. (2008). Planting and propagation of Pag Wan in the Northeast. Research on farming systems : Khonkaen University. Phraesithong, N. (2007).“Phakwanban - Phakwanpa” A professional cultivation guide. Bangkok : Neon Book Media Publishers. Phruksachat, R. (1988). Vegetables Guide to commercial cultivation. Bangkok : Neon Book Media Publishers. Phothisita, C. (2007). Science and art of qualitative research. Bangkok : Amarin Printing And publishing. Research on farming systems. (1988). Planting and propagation of vegetables in the Northeast. Khon Kaen : Faculty of Agriculture. Khonkaen University. Roekrai, D. (1985). Applying change: Focus on the process of spreading innovation. Bangkok : Kasetsart University. Sumna, J. (2013). Role of Tambon Administrative Organization in Promoting Cotton Weaving Group : A Case Study of Cotton Weaving Group, Tambon Nong Waang, Nang Bay, Phon District, Khon Kaen Province. Independent Study Report Master of Public Administration . Northeastern University. Wisalaphon, S. et al., (1992). Independent Study of Vocational Education of Vocational Education Graduates. Research Report, Bangkok : National Education Commission. The Prime Minister.