ดุลพินิจในการพิจารณาความเสียหายอย่างร้ายแรง
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะวิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทาง ถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาใช้ดุลพินิจในเรื่องความเสียหายอย่างร้ายแรง ในการดำเนินการสอบสวนวินัยร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 39 ในประเด็นการพิจารณาว่าเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับรัฐแล้ว ความเสียหายนั้นต้องมากน้อยเพียงใดจึงจะถือว่าเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรง อันจะนำไปสู่การกระทำที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คำจำกัดความ หรือนิยาม ไว้ให้ครอบคลุมถึงเรื่องความเสียหายอย่างร้ายแรงว่าต้องมากน้อยเพียงใด รวมทั้งกฎหมายอื่น ก็มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ไว้ ทำให้การพิจารณาคดีในศาลปกครองของตุลาการศาลปกครอง หรือการพิจาณาทางปกครองของคณะกรรมการ ต้องใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยว่าการกระทำให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรงนั้น ต้องเสียหายมากน้อยเพียงใดถึงจะถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง เมื่อเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจแล้ว ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป ทำเกิดปัญหาในเรื่องความเป็นธรรม ความเป็นกลางหรือมาตรฐานในการออกคำสั่งทางปกครองซึ่งอาจจะไม่เป็นธรรม บทความนี้จึงนำเสนอในมุมมองของการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป
This article iswritten and constructed to analyze the problem and effects of personal discretion used to determine whether an unlawful action is considered to be a violation of serious disciplines or not. In theTeacher Civil Service and Educational Personnel Act, B.E. 2547, Section 39, it misses a description of the measurement of the degree of such a violation, so that there is no certain standard, which can be referred to in trials. Since this type of trials must be considered case-by-case, this may lead to a confusion in the Chamber of theAdministrative Court, possibly resulting as the abuse of discretion and unfairness from civilians’ perspectives. This study conducts an in-depth investigation of the problem from various points of view, and offers some practical solutions to the National Legislative Assembly of Thailand as well as other authorities to take into consideration.
Article Details
References
Witsarutphit, W. 1991.Judicial Control of the Exercise of Administrative Discretion.Botbundit,Law Journal of the Thai Bar.47(1), 53.