พุทธธรรมกับหลักวิชาชีพสำหรับทนายความ

Main Article Content

วัน สุวรรณพงษ์

Abstract

              พุทธธรรมกับหลักวิชาชีพสำหรับทนายความ  ประกอบด้วยจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพทนายความ  แนววิธีปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนเป็นส่วนรวม  หากผู้ใช้กฎหมายไม่มีหลักคิดให้อยู่ในกรอบของจริยธรรมในวิชาชีพแล้ว  การใช้กฎหมายก็ย่อมไม่เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน  และไม่เกิดประโยชน์กับการอำนวยความยุติธรรมของรัฐ  ดังนั้น  ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความควรธำรงไว้ซึ่งจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพทนายความ  ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางกฎหมายอย่างเป็นธรรมตามมาตรฐานสากล  และผดุงความยุติธรรมของบ้านเมืองควบคู่กันไป  ข้อควรประพฤติปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ  เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทนายความที่ดี  คือ 1) มีคุณธรรมจริยธรรม  และ 2) มีความรับผิดชอบต่อสังคมและประชาชน  มรรยาทอันเป็นจริยธรรมในวิชาชีพ  ทนายความก็เป็นสิ่งควรปฏิบัติ การปฏิบัติตามหลักวิชาชีพทนายความอย่างถูกต้องครบถ้วน  จะทำให้ทนายความมีหลักปฏิบัติตนในการประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้อง  เป็นการปฏิบัติตามหลักธรรมและจรรยาในวิชาชีพที่มุ่งเพื่อให้เป็นทนายความที่ดีของประชาชน  เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในการประกอบวิชาชีพ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางวิชาชีพกฎหมายในมาตรฐานที่สูงขึ้น ทนายความที่ปฏิบัติตามหลักวิชาชีพทนายความได้อย่างครบถ้วนนั้น  จะส่งผลให้เอื้อประโยชน์และโอกาสแก่อาชีพทนายความ  อันส่งผลให้การประกอบวิชาชีพทนายความเป็นสัมมาชีพทรงคุณค่าและคุณประโยชน์อย่างอนันต์ต่อส่วนร่วมสืบไป


 


              The purposes of this study are morality of Profession for lawyers including ethics for professional lawyers. The practice of professions which will benefit the public as a whole. A professional lawyer is using the law to prevail. If the law is not a major figure in the framework of ethics and professional. The law would not be fair to the public. And benefits to the justice of the state, so professional lawyer should maintain a professional lawyers for lawyers. Which is guided in performing their duties so that people get the legal services of international standard. Fairly accurate And justice of the country simultaneously. Should practice of the profession. The profession as a lawyer is a good one) and two ethical) responsibility to society and the public. Ethics is the practices. The Professional Ethics The practice of professional lawyers correctly. Lawyers will have to practice their profession properly. To comply with the principles and ethics of the profession that aims to provide a notary public good. For prosperity in the practice. And to provide public services to the legal profession in a higher standard. The lawyers who practice their profession, lawyers fully there. Will result in the benefits and opportunities for career lawyer. The result is a professional lawyer occupations invaluable and useful contribution to infinite future.

Article Details

How to Cite
สุวรรณพงษ์ ว. . (2017). พุทธธรรมกับหลักวิชาชีพสำหรับทนายความ. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 4(1), 55–69. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243724
Section
Academic Article

References

คณิต ณ นคร. (2535). กฎหมายอาญาภาคความผิด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : โรง พิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. จิตติ ติงศภัทย์. (2542). หลักวิชาชีพนักกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ดิเรก ควรสมาคม. (2557). หลักวิชาชีพนักกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน. ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2548). คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร : สํานัก อบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปรีดี เกษมทรัพย์. (2539). นิติปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : โครงการตําราฯ คณะนิติศาสตร์. พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต. (2555). พระธรรมปิฎก. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ พุทธศาสนาของธรรมสภา. สิทธิโชค ศรีเจริญ. (2542). หลักวิชาชีพนักกฎหมาย : ทนายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : โครงการตําราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2550). หลักวิชาชีพนักกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.