การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักภาวนา 4

Main Article Content

พระมหาภัคศิษฐ์ มหาวิรีโย
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ

Abstract

              พระพุทธศาสนามีคำที่มีความหมายว่าทำให้เจริญงอกงาม ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกับพัฒนาที่ใช้กับการทำชีวิตให้เจริญงอกงาม ได้แก่คำว่า ภาวนา มี 4 ประเภท คือ 1)การพัฒนาคุณภาพชีวิตกับกายภาวนา หมายถึง การพัฒนาฝึกฝนอบรมกายด้วยอินทรีย์ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ให้มีอินทรีย์สังวรความสำรวมรู้จักระมัดระวังรักษาตนไม่ให้ก่อโทษทางกายและต้องรู้จักปรับตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เหมาะสม 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตกับศีลภาวนา หมายถึง ความประพฤติเรียบร้อยดีงาม มีระเบียบวินัย มีกติกาทางสังคมร่วมกัน 3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตกับจิตตภาวนา หมายถึง การฝึกฝนอบรมจิตใจให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง มีความเจริญไพบูลย์ด้วยคุณธรรมทั้งปวง ฝึกฝนตนให้มีความรักความเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย พัฒนาจิตของตนให้มีความสงสารอยากจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่กำลังประสบความทุกข์นานาประการอยู่ในสังคมปัจจุบันและฝึกฝนจิตของตนให้มีความผ่องใสเบิกบาน ดำเนินชีวิตด้วยความสุขใจ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับปัญญาภาวนา หมายถึง การพัฒนาฝึกฝนอบรมตนจากการได้ศึกษาเล่าเรียน การสดับรับฟังมามากและการลงมือปฏิบัติตามทฤษฎีที่ศึกษามาแล้วนั้นให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและคนอื่น 


 


                Buddhism has a word referring to prosperity or training for more accomplishment. Like a word 'development', it aims at making life better. It is Bhavana or development of life in four ways. The first way is development of life with Kaya Bhavana. It means training the faculties: eyes, ears, a nose, a tongue and a body. The restraint of faculty helps a person to control a body without immoral action. Similarly, it helps a person to adjust himself properly to environment. The second way is the development of life with Sila Bhavana. It refers to moral behaviour with following regulation and social rules. The third way is the development of life with Citta Bhavana. It means to make mind strong and full of all moral qualities through loving kindness and compassion towards all suffered beings in the present. It also makes mind full of brightness, joyfulness and happiness. The final way is the development of life with Panna Bhavana. It means self-training from a study, listening and practice according to the studied knowledge for personal interest and common interest.               

Article Details

How to Cite
มหาวิรีโย พ. . ., & ฐิตปญฺโญ พ. . (2017). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักภาวนา 4. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 4(1), 42–54. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243723
Section
Academic Article

References

พระธรรมธีรราชมหามุนี โชดก ญาณสิทฺธิ. (2546).วิปัสสนาญาณโสภณ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ศรีอนันต์การพิมพ์. พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต. (2540). ความสําคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจํา ชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.
พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต. (2538). การพัฒนาจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมมิก. . (2543).ความสุขที่แท้จริง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา. . (2543).พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต. (2552).พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระราชวรมุนี ประยุทธ์ ปยุตฺโต. (2529). การศึกษาของคณะสงฆ์ ปัญหาที่รอทางออก. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมล คีมทอง. พัชรินทร์ แจ้งอิ่ม. (2556). การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการครู ในเขต ตาม หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตตามหลักภาวนา ในเขตอําเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พิพัฒน์ จันทรา. (2542). คุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการครู ในสังกัดสํานักงานการ ประถมศึกษา จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา. พุทธทาสภิกขุ. (2542). บางแง่มุมของกามในทัศนะพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ สุขภาพใจ. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2500).พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539).พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สมยศ นาวีการ. (2547). การบริหาร: การพัฒนาองค์การและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ กรุงธน พัฒนาจํากัด. Fradier,G (1976). Quality-of-work life UNESCO Lausanne. Lausanne: Prefected by ImprimeriesReunites de Lausanne. UNESCO.,I. (1978). Ndicator of environmental quality of life. Research and Papers in Social Science, 38 (12), 99.