การแก้ปัญหาความเครียดตามหลักสติปัฏฐาน 4
Main Article Content
Abstract
ความเครียด เป็นภาวะหนึ่งของความทุกข์ของมนุษย์ ที่เกิดจากการขาดสติสัมปชัญญะ นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ไม่ตรงต่อเหตุแห่งความเครียด ผู้คนส่วนมากไม่รู้ก็จะไปแก้ที่ภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในหลักความเป็นจริง การเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็น พุทธวิธีในการดับทุกข์ โดยการเจริญสติให้เกิดปัญญา รู้เท่าทันจิตโดยอาศัยกายเป็นฐานในการกำหนดรู้ เพื่อแก้ความเครียด โดยใช้หลักการเจริญสติ 3 ขั้น คือ 1) เจริญสติรู้ชั่วขณะในอารมณ์ปัจจุบันตามความจริง คือ เห็นความไม่เที่ยงพร้อมกับปล่อยวาง และกำหนดรู้เชิงบวกมองโลกในแง่ดี ทำจิตให้เบิกบาน 2) เจริญสติอย่างต่อเนื่องกับการใช้ชีวิตประจำวัน คือ เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมาพร้อมกับการรู้ตื่นเบิกบาน และตระหนักรู้ในการบริโภคอย่างมีสติ หมายถึง การบริโภคอย่างมีสติตระหนักรู้ใน 5 อ. คือ การตระหนักรู้ในอาหาร อากาศ อาคาร อารมณ์ ออกกำลัง เป็นวิธีหล่อเลี้ยงสุขภาพกายและจิต การมีสติกำหนดรู้ใน 4 อิริยาบถ เป็นการตระหนักรู้พิจารณาอย่างลึกซึ้งกับการยืน เดิน นั่ง นอนอย่างมีสติเป็นการปฏิบัติอันวิเศษที่จะช่วยให้เรากลับมาอยู่กับปัจจุบันได้ทุกขณะด้วยจิตอันสงบ 3) เจริญสติอย่างละเอียด คือ ตระหนักรู้ชัดใน 4 ฐาน (1) ฝึกสติให้รู้เท่าทันกายในอาการต่างๆ (2) ฝึกเจริญสติให้รู้เท่าทันอารมณ์วิตกกังวล (3) ฝึกเจริญสติเพื่อทำให้จิตมีคุณภาพ ให้จิตมีความเข้มแข็ง (4) ฝึกเจริญสติให้อยู่ด้วยธรรม มองโลกในแง่ดี มีความสุข เย็น ผ่อนคลาย สบายอารมณ์
Stress is one state of human suffering which is caused by a lack of consciousness and leads to incorrect resolution on the cause of the stress. The majority of human solve the external problem but indeed performing the four foundation of mindfulness (Pāli : satipaṭṭhāna) is the Buddhist way to overcome suffering. This leads to the rise of wisdom to understand the mind abiding in the body that is the base of realization. There are three stages of stress relief. 1) Developing the temporary mindfulness in current emotion as it actually as: that is, to realize impermanence and not hold it, positive realization by being optimistic and cheerful. 2) Developing continuous mindfulness in daily life: that is, waking up with cheerfulness and conscious realization of consumption or conscious consumption in five objects: food, climate, building, emotion and exercise. This is the way to take care of physical and mental health. Having consciousness in four actions is the profound realization in walking, sitting and lying consciously. It is the excellent practice leading the mind to the present moment with the calm mind. 3) Developing profound mindfulness: this is realization of four bases:
1) realization of body in different actions with its balance, and with the use of four requisites for health; 2) training the mind to know occurring anxiety or stress and creating emotion and consciousness art in any case; 3) training the mindfulness in quality mind to have strength, stability, purity, skillfulness, happiness, coldness, relaxation of the mind; and 4) developing the mindfulness in dhamma such as being optimistic, happy
Article Details
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ลักขณา สริวัฒน์. (2546). จิตวิทยาในชีวิตประจําวัน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. วิภาพร สิทธิสาตร์ และสุชาดา สวนนุ่ม. (2550). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุใน ชุมชน เขตความรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านเสาหิน ตําบลวัดพริก อําเภอ เมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช. สถาบันพระ บรมราชชนก : สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สมฤดี ราษฎร์อนุกูล. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารทหารไทย จํากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สรัญญา กุมพล. (2554). การดูแลสุขภาพองค์รวมในผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบมีส่วนร่วมตาม แนววิถีพุทธในบริบทวัฒนธรรมอีสาน : กรณีศึกษาพื้นที่เขตเมือง ในจังหวัด ขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน. (2552). สุขวิถี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.