ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพรหมวิหารธรรม กับจรรยาบรรณของครูที่มีต่อศิษย์

Main Article Content

บูชิตร์ โมฆรัตน์

Abstract

                พรหมวิหารธรรมเป็นหลักธรรมที่ครูพึงมีเพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติเกื้อกูลแก่ศิษย์และสังคม ซึ่งหลักพรหมวิหารธรรมนี้มีความสอดคล้องสัมพันธ์อย่างยิ่งกับจรรยาบรรณของครูที่มีต่อศิษย์ในปัจจุบัน ด้วยว่าครูที่มีพรหมวิหารธรรมเป็นผู้มีเมตตา กรุณา และมุทิตาต่อศิษย์อย่างสมควร เมื่อศิษย์จะต้องดำเนินชีวิตตามทางที่เลือกแล้วจากปัญญาและกรรมของตนเอง ครูผู้มีอุเบกขาธรรมก็พึงเฝ้าดูด้วยใจที่ปล่อยวาง หากครูผู้มอบความเมตตา กรุณา มุทิตาให้ศิษย์แล้วอย่างเต็มเปี่ยมจะถือว่าพึงเจริญอุเบกขาขึ้นแล้ว ในสังคมไทยนั้นวิชาชีพครูได้รับการยอมรับให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง นั่นคือครูจะต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของครูที่มีรากฐานมาจากหลักพรหมวิหารธรรม ถ้าครูมีหลักธรรมประจำใจอยู่แล้วก็จะเป็นครูผู้มีจรรยาบรรณที่สมบูรณ์ขึ้น เป็นผู้เปี่ยมด้วยวิชาความรู้และความประพฤติที่งดงาม มีจิตใจเป็นผู้ประเสริฐและเสียสละและมุ่งประโยชน์แก่ผู้อื่นเป็นสำคัญ


            Brahmavihāra (sublime states of mind) is a principle that teachers should have to behave to students and society. Brahmavihāra is consistent with the ethics of teachers towards students in the present day, that is to say, teacher who has Brahmavihāra is considered as a teacher with compassion and sympathy towards students. When a student must live according to select his own passage from his own wisdom and own karma. A teacher with Upekkhā (equanimity) should watch his students with pleasure and released. The teacher who he delivers kindness and sympathy to students shall be considered a fully perceiving with Upekkhā. In Thailand, the teaching profession has been recognized as a noble profession, namely, a teacher must keep the ethics of teacher with a foundation of Brahmavihāra.  If teacher has the principles of the mind, it is more complete, is full of knowledge and correct conduct and equipped with noble sacrifices and aim to benefit others.

Article Details

How to Cite
โมฆรัตน์ บ. . . . (2017). ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพรหมวิหารธรรม กับจรรยาบรรณของครูที่มีต่อศิษย์. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 4(1), 1–14. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243719
Section
Academic Article

References

บุณย์ นิลเกษ. (2537). คัมภีร์วิสุทธิมรรคสําหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา. พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต. (2557). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. พระคันธสาราภิวงศ์. (2547). คุณธรรมของคนดีและพรหมวิหาร 4. กรุงเทพมหานคร : ไทยรายวันการพิมพ์. . (2555). พรหมวิหาร. กรุงเทพมหานคร : ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์. พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร : เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จํากัด. . (2553). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). (พิมพ์ครั้งที่ 25). นนทบุรี : เพิ่มทรัพย์การพิมพ์. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539).พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ยนต์ ชุ่มจิต. (2526). ปรัชญาและคุณธรรมสําหรับครู. กรุงเทพมหานคร : แพร่วิทยา. ราชกิจจานุเบกษา. (2550). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณ ของวิชาชีพ พ.ศ.2550. เล่ม 124 ตอนพิเศษ 51 ง. 27 เมษายน 2550. . (2548). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง. 4 ตุลาคม 2548. ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : อักษร เจริญทัศน์. สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการครู กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). คุณธรรมและจิตสํานึก ของข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา คุรุสภา. (2555). รายงานประจําปี พ.ศ.2554. กรุงเทพมหานคร : บริษัท โบนัสพรีเพลส จํากัด.