บทบาทนักศึกษาอาสาสมัครสืบสวนพิเศษ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

สมควร ผ่านบุตร

Abstract

                การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสืบสวนพิเศษ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของนักศึกษาอาสาสมัครป้องกันอาชญากรรมของอาสาสมัครสืบสวนพิเศษมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรประกอบด้วยนักศึกษาที่เข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร จำนวน 157 คน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 115 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่าง่ายในการจัดการข้อมูลในเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบและคำถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ แล้วสรุปผลรายงานแบบพรรณาความ


            ผลการศึกษาพบว่า


            1) ด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ อาสาสมัครมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความปลอดภัยในที่พักอาศัย ซึ่งมีความปลอดภัยทางกายภาพสูง แต่ยังไม่มีการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับทรัพย์สิน อาสาสมัครมีจิตสำนึกสาธารณะในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้น มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองและให้ความรู้แก่เพื่อนนักศึกษาในการป้องกันตนเองจากเหตุการณ์ร้าย 


            2) บทบาทและการมีส่วนร่วมอาสาสมัครมีส่วนร่วมการตัดสินใจและวางแผน  โดยชักชวนเพื่อนนักศึกษาเข้าเป็นสมาชิก เข้าร่วมการประชุม รวมกลุ่ม ปรึกษาหารือ  ตัดสินใจวางแผนเพื่อการป้องกันภัยและรักษาความปลอดภัย  เข้าร่วมฝึกอบรม ร่วมรณรงค์ ประสานงานและร่วมกับบุคลากรในการปฏิบัติงาน สิ่งที่อาสาสมัครมีส่วนร่วมน้อยที่สุดคือ ร่วมสนับสนุงบประมาณเพื่อจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือในการปฏิบัติงาน  อาสาสมัครเป็นผู้ได้ประโยชน์โดยตรงในการมีความรู้สึกว่ามีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมาก


 


            This objectives of this research aims to: 1) Study about knowledge and umderstanding relating to roles of volunteer students for special investigation task force,and  2) study participations of volunteer students in special investigation task force in Khon Kaen University. This is a qualitative research. The population included 157 volunteer students. The 115 samples were drawn  by simle random sampling technique( Yamne,1973). Research instrument was a set of multiple choices questionnaire with the openended questions. The obtained data was analyzed for percentage. The results were summarized and reported in descriptive manner.


            The findings were as follows:


             1) Knowledge ans understanding relating to roles of volunteer students for special investigation task force , it was found that the volunteer students had knowledge, understanding and awareness of safety in their living componds which had a high physical safty. However, there was no readiness in valuable stuff protection measure. The volunteers showed an awareness in public mind in helping other when there was an incident. The volunteers had knowledge and understanding in self-defence and transfered their knowledge to their friends.


             2) Roles in participation, the volunteer students participated in planning ans making decision, persuade their friends to be member of the volunteer special task force. The volunteesr attended group meetings for consulting and making decision for prevention and safety planning. They participated in training, campaigning coordinating with personnel in work performance. The task that the volunteer participated at the lowest levels were: financial support and obtaining equipments for task force. However,The volunteer students felt that they received direct benefits from having knowledge and understanding about safety precaution. The felt more safe in their lives and properties.

Article Details

How to Cite
ผ่านบุตร ส. . . . (2016). บทบาทนักศึกษาอาสาสมัครสืบสวนพิเศษ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 3(2), 76–84. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243717
Section
Research Article

References

ปราศรัย จิตตสนธิ. (2544). ผลที่ประชาชนได้รับจากงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์กับการ ป้องกันตนเองด้วยความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน : กรณีศึกษาอําเภอบาง พลี จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมสงเคราะห์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2543). สหวิทยาการว่าด้วยปัญหาอาชญากรรม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. วิรัช ศิริรัตนกุล. (2540). การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ. (2545). แผนแม่บทสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2545-2549. กรุงเทพมหานคร : อัดสําเนา. โสภา ชปีลมันน์. (2537). อาชญากรรม ปัญหาที่ควรแก้ไขในสังคมปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพาณิช.