ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

พูนสุข ภูสุข

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) เปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาแนวทางเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


              กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการอัยการและข้าราชการธุรการภายในสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 103 คน และทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักสำคัญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และแบบสัมภาษณ์ (Interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)


              ผลการวิจัยพบว่า


              1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมี ด้านฉันทะมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา ตามลำดับ


              2. ข้าราชการฝ่ายอัยการที่มีการศึกษา ที่ต่างกัน มีประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4  แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีเพศ อายุ  ตำแหน่ง ที่ต่างกัน มีประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ไม่แตกต่างกัน


              3. แนวทางการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ของข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สำคัญได้แก่ ข้าราชการฝ่ายอัยการทุกคนจะต้องเป็นผู้รักงานในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบอยู่ และเอาใจใส่กระตือรือร้นในการเรียนรู้งาน และเพิ่มพูนวิชาความรู้ความสามารถในการทำกิจการงาน และมุ่งมั่นที่จะทำงานในหน้าที่รับผิดชอบหรือกิจการงานอาชีพของตนให้สำเร็จเรียบร้อยอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียร ความอดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากในการประกอบกิจการงานในหน้าที่หรือในอาชีพของตนจึงจะถึงความสำเร็จ และความเจริญก้าวหน้า ใส่ใจในประสิทธิภาพ โดยเอาใจใส่ต่อกิจการงานที่ทำและมุ่งกระทำงาน รู้จักพิจารณาเหตุ สังเกตผล ในการปฏิบัติงานของตนเอง และของผู้ร่วมงานว่าดำเนินไปตามนโยบายและแผนงานที่วางไว้ ได้ผลสำเร็จ เมื่อเกิดอุปสรรคหรือปัญหา หาวิธีการบริหารกิจการงานให้สำเร็จ โดยติดตามประเมินผลงานและนำมาวิเคราะห์วิจัยให้ทราบเหตุผล พิจารณาแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และปรับปรุงพัฒนาวิธีการทำงานให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จ


 


              The objectives of this research were (1) to study a degree of the officers’ efficient performance according to Fourfold Iddhipãda at the Office of the Attorney General, the Office of Juvenile and Family Litigation in the northeast regions, (2) to compare the efficient performance of officers according to Fourfold Iddhipãda at the Office of the Attorney General, the Office of Juvenile and Family Litigation in the northeast regions, and (3) to study ways of promoting the efficient performance of officers according to Fourfold Iddhipãda at the Office of Attorney General, the Office of Juvenile and Family Litigation in the northeast regions.


              The sample in this research was 103 prosecutors and officials at the Office of Juvenile and Family Litigation in the northeast regions including 5 interviewed administrators. The research instrument was the questionnaire and the interview schedule. The data analysis was frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test of independent sample, f-test of One-Way ANOVA.


              A result of this research study was found in the following aspects.


              1. The officers’ efficient performance according to Fourfold Iddhipãda at the Office of the Attorney General, the Office of Juvenile and Family Litigation in the northeast regions as a whole and each aspect was in the highest level. Here was the aspects orderly organized from the highest degree to the low degree: aspiration (Chanda), effort (viriya), thoughtfulness (citta) and reasoning (vimangsa).


              2. The officers at the Office of the Attorney General, the Office of Juvenile and Family litigation in the northeast regions, who were in the different sex, age, and position, were not different. However, the officers at the Office of the Attorney General who were in the different degree of education had the efficient performance according to Fourfold Iddhipãda in the significantly statistical difference at the level of .05.


              3. Ways of the applied Fourfold Iddhipãda practiced by the officers at the Office of the Attorney General, the Office of Juvenile and Family Litigation in the northeast regions were in the following aspects. All officers of the Office of the Attorney General had to be responsible for the given duties, eager to understand work and, collect the experience of working, pay attention to work, be responsible for the given work until reaching the goal, get the effort and endurance without running away from the boringness and suffering until being successful and prosperous in work, pay attention for efficiency through all made activities, work reasonably both in the given work and the other works whether they were made as in a plan and a goal, search a way to get successful in work although there were many problems, try to manage the given work by means of the assessment and resolve all problems, and finally, adjust a way of performance for the success in work.

Article Details

How to Cite
ภูสุข พ. . (2016). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 3(2), 41–52. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243714
Section
Research Article

References

พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตโต. (2543). ธรรมะกับการทํางาน. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธ ธรรม. พีรสิทธิ์ คํานวณศิลป์ และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. 2546. การพัฒนาศักยภาพการบริหาร จัดการองค์การบริหารส่วนตําบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น : โรง พิมพ์พระธรรมขันต์. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สมคิด บางโม. (2547). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : บริษัท วิทยพัฒน์ จํากัด. สํานักอัยการสูงสุด. (2551). ประกาศคณะกรรมการข้าราชการอัยการ : ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนที่ 66. กรุงเทพมหานคร : สํานักอัยการสูงสุด