การปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วน ตำบลเขวา ทุ่งอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระวราวุฒิ มหาวีโร

Abstract


               การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนในเขตตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด (2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชน (3) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน (4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ภายในองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด


             ผลการวิจัยพบว่า


             1. การปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอ   ธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชน โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (= 2.97) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่าการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชน อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ คือ ด้านอวิหิงสา (= 3.06) ด้านอวิโรธนะ (= 3.05) ด้านมัททวะ (= 3.02) ด้านอักโกธะ (= 3.02) ด้านขันติ (= 3.01) ด้านอาชชวะ (= 2.97) ด้านตปะ (= 2.91) ด้านปริจาคะ (= 2.89) ด้านทาน (= 2.88) ด้านศีล (= 2.87) ตามลำดับ


             2. ประชาชนที่มี สถานะ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แตกต่างกัน จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


             3. แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด คือ ในการให้ซึ่งต้องไม่หวังสิ่งตอบแทน จะต้องมีความต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนร่วมงานและประชาชน ให้กำลังใจ ให้ความรัก ให้อภัยแก่เพื่อนร่วมงานและประชาชน มีระเบียบวินัย ปฏิบัติงานตามระเบียบอย่างเคร่งครัด ระมัดระวังควบคุมตนเอง รู้จักบริหารคน บริหารงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ มีความประพฤติที่ดีงาม ทั้งกาย วาจา ใจ ต้องรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม ซื่อตรง ไม่คดโกง มีความนอบน้อม ถ่อมตน ติดดิน เพื่อให้พี่น้องประชาชนเข้าหาได้ทุกเมื่อ บริหารงานด้วยความอ่อนโยน มีอัธยาศัยที่อ่อนโยน ไม่หยาบคาย ไม่แข็งกระด้าง ผู้บริหารต้องมีความพรากเพียร คือ ต้องพยายามเอาชนะปัญหาอุปสรรคในการบริหารงานทุกรูปแบบ บริหารงานด้วยความสุข สงบ เยือกเย็น เห็นตน เห็นคน เห็นงาน เห็นบ้านเมือง บริหารงานโดยไม่ใช้อารมณ์โกรธเข้ามาครอบงำตนเอง ต้องไม่มีความโกรธเกิดขึ้นในการบริหารงาน บริหารงานต้องมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เคารพในกฎหมาย มีความเท่าเทียมกันและความเสมอภาค ต้องไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ บริหารงานด้วยความเที่ยงธรรม หนักแน่น ความถูกต้องโดยมีความเที่ยงธรรมเป็นหลัก บริหารงานด้วยความหนักแน่นกล้าตัดสินใจ และไม่เอนเอียงและแบ่งพรรคแบ่งพวก


 


             The objectives of this research were (1) to study the individual factor of the people in the area of Khwaothong Sub-District Administrative Organization Thawatpuri District, Roi-Et Province, (2) to study the performance following the Rajadhamma (virtue of the rulers) according to the view of the people in the area of Khwaothong Sub-District Administrative Organization, (3) to do a comparative study of performance following the Rajadhamma according to the different view of the people in the area of Khwaothong Sub-District Administrative Organization, and to study the effective methods in developing the performance system based on the Rajadhamma of the the area of Khwaothong Sub-District Administrative Organization. This research was conducted based on Mixed Method: Quantitative Research which mainly focused on Survey Research and  Qualitative Research that applied In-Depth Interview and referred to Key Informants of the Khwaothong Sub-District Administrative Organization.


             The results of the study were found that


             1. The performance following the principle of Rajadhamma of the Khwaothong Sub-District Administrative Organization according to the view of the people, at the whole picture, resulted in middle scale ( = 2.97); while examining  in each aspects found that the performance following the principle of Rajadhamma of the Khwaothong Sub-District Administrative Organization according to the view of the people resulted at middle scale which could be classified further from the less to the largest Means thus: Avihimsa or non-violence (= 3.06); Avirodhana or conformity to the law (= 3.05) ; Maddava or kindness and gentleness (= 3.02), Akkodha or non-anger (= 3.02); Khanti or patience (= 3.01); Ajjava or honesty (= 2.97); Tapa or austerity (= 2.91); Pariccaga or self- sacrifice (= 2.89); Dana or generosity (= 2.88); and Sila or morality (= 2.87).                 


             2. Those people who have different social status also had different view over the performance of the performance following the principle of Rajadhamma of the Khwaothong Sub-District Administrative Organization, that was opposite to the set hypothesis. But, those people who were different in gender, age, academic achievement, and occupation had the same attitude toward the performance of the performance following the principle of Rajadhamma of the Khwaothong Sub-District Administrative Organization in which, again, there was the rejection to the set hypothesis. 


             3. The principle to develop the performance following the principle of Rajadhamma of the Khwaothong Sub-District Administrative Organization were to give or donate without expectation or return, not necessary to be a material thing but love, forgiveness, be courageous, and care to all class of the people; be disciplined to the law of the nation, self-controled in all aspects; be generous and hones; speak with gentle words, be patient and rule accordingly to the law. giving service to the people with equality, and wholeheartedly dedicate for the happiness and well-being of the many, not focusing on special groups.


Article Details

How to Cite
มหาวีโร พ. . (2016). การปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วน ตำบลเขวา ทุ่งอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 3(2), 27–40. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243713
Section
Research Article

References

เชิดชัย จักรแก้ว. (2558). ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลเขวาทุ่ง. จํานวนประชากร จําแนก ตามช่วงอายุปี 2558 ข้อมูลจาก จปฐ. องค์การบริหารส่วนตําบลเขวาทุ่ง อําเภอ ธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : อัดสําเนา ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี : บริษัทเอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จํากัด. พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต. ( 2546). ภาวะผู้นํา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สุขภาพ ใจ. พุทธทาสภิกขุ. (2537). ทศพิธราชธรรม พุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา. ภานุพล ภูษา. (2554). ทศพิธราชธรรมกับการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตําบล : ศึกษา เฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตําบลบางเพรียง อําเภอบางบ่อ จังหวัด สมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.