การบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สิริรัตน์ แพนไธสง
ปัญญา คล้ายเดช
ประยูร แสงใส

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น  (2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล(3) เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามหลักสังคหวัตถุ 4 ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น  การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 233 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลของ คือ ค่าความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) การบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามหลักสังคหวัตถุ 4  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก
(In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key Informants) คือ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ เพื่อหาแนวทางสำหรับการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท


               ผลการวิจัยพบว่า


             1. ผู้สูงอายุมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามหลักสังคหวัตถุ 4  โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน    โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านทาน ด้านสมานัตตตา ด้านอัตถจริยา และด้านปิยวาจา


             2. ผู้สูงอายุที่มีเพศ สถานภาพการสมรส และอายุ ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามหลักสังคหวัตถุ 4 ไม่ต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้


             3. แนวทางการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น คือ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุได้มีเงินเบี้ยยังชีพ เพียงพอต่อการดำรงชีวิตด้วยการ สละเวลา แรงกาย พูดคุยเจรจา ด้วยถ้อยคำที่สุภาพ จริงใจ ในการถามสารทุกข์สุขดิบไปพร้อมกับการแจกเบี้ย  เคารพอ่อนน้อม พร้อมเป็นผู้ให้บริการที่ดี ปฏิบัติตนต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างดีจากหน่วยงานของรัฐด้วยการอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุในการดำเนินการออกแจกเบี้ยยังชีพทุกคนอย่างทั่วถึง ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน และนโยบายรัฐบาล


 


              The objectives of this thesis were (1) to study personal factors and administration of old age persons allowance according to theFour Sangahavatthu principles of Samrong sub-district administrative organization, Nongsonghong district, Khonkaen province, (2) to do a comparative study of the administration of old age persons allowance according to the Four Sangahavatthu principles of Samrong sub-district administrative organization, Nongsonghong district, Khonkaen province deviated from the individuals, and (3) to ascertain for the guideline over the administration of old age persons allowance according to the Four Sangahavatthu principles of Samrong sub-district administrative organization, Nongsonghong district, Khonkaen province. This research was conducted based on mixed method. For the quantitative research, the population were 233 of the old age persons living in the area of Samrong sub-district, Nongsonghong district, Khonkaen province. The research instruments applied in collecting the data were questionnaires, analysis with statistical approach for social science, Frequency, Percentage, Means ( ), Standard Deviation (S.D.), T-test, and do analysis of variance by means of One Way ANOVA. While for the qualitative approaches, collecting the data from In-Depth Interview to Key Informants namely chief executive of subdistrict administrative organization, deputy chief executive of  subdistrict administrative organization, chief administrators of subdistrict administrative organization , and officers,8 intotal. And, do analysis from questionnaire in order to find out the practical guideline over the administration of old age persons allowance according to the Four Sangahavatthu principles of Samrong sub-district administrative organization, Nongsonghong district, Khonkaen province.


              The results of study found that:


              (1) The old age persons view over the administration of old age persons allowance according to the Four Sangahavatthu principles, as a whole, resulted in high level, While examining in each aspect, also ranged at high level, which could be categorized from the largest to the smallest as follows:  Dana: giving or generosity, Samanattata: even and equal treatment, Atthacariya: useful conduct, and Piyavaca: kind speech  


              (2) Those old age persons who were different in gender, marital status, age had the same attitude toward the administration of old age persons allowance according to the Four Sangahavatthu principles. Thus, it was opposite to the set hypothesis.  


              (3) The suggestions for progressive administration of old age persons allowance according to the Four Sangahavatthu principles of Samrong sub-district administrative organization was as follows: the directors as well as officers should have more concern about the old age persons, support and give service to them with sincere means together with kind speech, be even and equal treatment to all, and live with proper conduct. All this were conducive to the total quality service of the government organization to the old age persons in obtaining old age persons allowance; as well as, to achieve the objectives of the organization and that of government. 

Article Details

How to Cite
แพนไธสง ส. . ., คล้ายเดช . ป. ., & แสงใส ป. . (2016). การบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 3(2), 1–11. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243708
Section
Research Article

References

กองสวัสดิการสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์. (2545). คู่มือการถ่ายโอนภารกิจด้าน ผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 – 2564, กรุงเทพมหานคร : กรม ประชาสงเคราะห์. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS, (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี. พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต. (2538). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย.