การพัฒนาแบบวัดความรู้สึกเชิงจำนวน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบวัดความรู้สึกเชิงจำนวน ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความรู้สึกเชิงจำนวนในประเด็นความยาก อำนาจจำแนก ความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามโครงสร้าง และความเที่ยง และสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดความรู้สึกเชิงจำนวน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรีเขต 1 จำนวน 364 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดความรู้สึกเชิงจำนวนเป็นแบบอัตนัย มีทั้งหมด 7 ด้านตามแนวทางของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ความเข้าใจจำนวนเชิงการนับและจำนวนเชิงอันดับที่ ความเข้าใจความสัมพันธ์หลากหลายระหว่างจำนวน ความเข้าใจขนาดสัมพัทธ์ของจำนวน การรู้ผลสัมพัทธ์ของการดำเนินการ ความสามารถในการพัฒนาสิ่งอ้างอิงในการหาปริมาณของสิ่งของและสถานการณ์ต่างๆในสิ่งแวดล้อมของนักเรียน ความสามารถในการคิดคำนวณในใจได้อย่างยืดหยุ่น ความสามารถในการประมาณค่า มีจำนวนข้อสอบด้านละ 3 ข้อ รวมทั้งฉบับมี 21 ข้อ มีความตรงตามเนื้อหาจากการคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 ผลการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อมีค่าความยากตั้งแต่ 0.39-0.69 และค่าอำนาจตั้งแต่ 0.26-0.87 ผลการวิเคราะห์คุณภาพรายฉบับ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า Cronbach คือ 0.715 0.704 0.706 0.717 0.739 0.745 และ 0.810 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.897 มีความตรงเชิงโครงสร้าง ( = 270.41, df = 139, p = 0.00, RMSEA = 0.051, GFI= 0.93) สำหรับเกณฑ์ปกติวิสัยทั้งฉบับมีค่าระหว่าง T28-T71
Article Details
References
พิสณุ ฟองศรี. 2553. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
พรทิพย์ ไชยโส. 2545. หลักการวัดและการประเมินผลการศึกษาขั้นสูง. กรุงเทพฯ:
ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. 2552. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory).
พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2553. เอกสารเสริมความรู้ทาง คณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้สึกเชิงจำนวน. กรุงเทพฯ: บริษัท สามคิว มีเดีย จำกัด.
. 2553. กิจกรรมในห้องเรียนเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนเอกสารสำหรับครู. กรุงเทพฯ:บ ริษัท สามคิวมีเดีย จำกัด.
. 2555. ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพ เส้นทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: บริษัท สามคิว มีเดีย จำกัด.
. 2555. การวัดและประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
. 2546. เอกสารเสริมความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง พัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน
โดยใช้โจทย์ปัญหา กิจกรรมและเกม. กรุงเทพฯ: เอส พี เอ็น การพิมพ์.