Risk communication form for health promotion In the monk Pichit province

Main Article Content

Keeratiphut Yodchan
Virat Virojno

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงปัจจุบัน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์ ในจังในจังหวัดพิจิตร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคลผู้ดำเนินการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน โดยอาศัยหลักในการศึกษาวิจัย กรอบแนวคิด ทฤษฎีสื่อสาร ทฤษฎีสื่อสารความเสี่ยงในภาวะวิกฤติ และทฤษฎีการสื่อสารสุขภาพ รวมถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมิติทางวัฒนธรรม พุทธศาสนา และนำมาประมวลผล สร้างข้อสรุปแบบอุปนัยในประเด็นสำคัญตามลำดับ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า


             1.รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในประชาชนทั่วไป เป็นการมุ่งเน้นการจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อสื่อสารด้านสุขภาพ โดยมีหน่วยงานสาธารณสุข ในระดับพื้นที่ ระดับอำเภอและระดับจังหวัดทำหน้าที่รับผิดชอบหลักในการดำเนินงานสื่อสารความเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคและภัยสุขภาพ รวมไปจนถึงมีการจัดตั้งคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข มุ่งเน้นเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนทั่วไป ซึ่งมีแหล่งข้อมูลที่สำคัญ มาเรียบเรียงเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์จากผู้รับผิดชอบงาน เพื่อจัดทำเป็นองค์ความรู้ ผ่านช่องทางการสื่อสารในหลายรูปแบบ เช่นทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หอกระจายข่าว แผ่นพับ อินโฟกราฟิค คลิปเสียง คลิปวีดีโอเพื่อเผยแพร่ให้แก่กลุ่มเป้าหมายตามปัญหาที่พบ ในขณะที่การดำเนินงานด้านการสื่อสารความเสี่ยงในพระภิกษุสงฆ์ ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มที่เนื่องจากข้อจำกัดของการสื่อสาร ได้แก่ ช่องทางการสื่อสาร เวลาในการให้ข้อมูล สื่อต่างๆที่บางครั้งมีข้อจำกัดในการเผยแพร่ในพระภิกษุสงฆ์ การสื่อสารกับพระสงฆ์ด้วยถ้อยคำหรือภาษาที่ไม่แน่ใจว่าจะถุกต้องเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงผู้สื่อสารความเสี่ยงไม่ทราบถึงมิติทางวัฒนธรรม และหลักในการสื่อสารกับพระภิกษุสงฆ์


             2.ปัจจัยที่ทำให้การสื่อสารความเสี่ยงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ได้แก่ 1. ผู้ทำหน้าที่ในการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในพระภิกษุสงฆ์ การดำเนินการการสื่อสารความเสี่ยงที่ไม่ครอบคลุมโดยเฉพาะมิติทางด้านวัฒนธรรม ระเบียบปฏิบัติของสงฆ์ อย่างเพียงพอ ทำให้ขาดข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อจัดทำข้อมูลในการสื่อสารที่ตรงประเด็น ส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อสารให้ความรู้หรือการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ทั่วไป ไม่มีการนำปัญหาของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลักในการกำหนดประเด็นเพื่อสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.พระภิกษุสงฆ์เมื่อเกิดอาพาธ ส่วนใหญ่จะรักษาเองด้วยให้ลูกศิษย์ หรือญาติซื้อยามาถวาย ตลอดจนไม่กล้าสอบถามบุคลากรทางการแพทย์ได้ในบางประเด็นเนื่องจากไม่แน่ใจว่าจะถูกต้องตามวิธี ระเบียบปฏิบัติของสงฆ์หรือไม่ ทำให้อาการทรุดหนักและแก้ไขได้ยาก


             3.พระภิกษุสงฆ์ต้องการรูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อสร้างเสริมสุขภาพโดยให้ครอบคลุมถึงระเบียบวิธีปฏิบัติโดยได้เสนอการสื่อสารความเสี่ยงที่ใช้หลักพุทธศาสนาและรัฐธรรมนูญพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560 มาประยุกต์ใช้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนป้องกันโรคและภัยที่อาจเกิดขึ้นกับพระสงฆ์


             4.พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้นแบบของนักสื่อสารความเสี่ยงต้นแบบที่สมบูรณ์ที่สุด พระองค์มีหลักการในการสื่อสารกับผู้ฟังให้สามารถได้รับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาของพระองค์อย่างทั่วถึง ซึ่งหากจะนำไปปรับใช้เป็นหลักในการสื่อสารก็คือ นักสื่อสารจะต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมาย ต้องรู้ว่าสถานที่ที่จะแสดงธรรมหรือสื่อสารนั้น มีบุคคลประเภทใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นโดยเพศ โดยวัยวุฒิ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการเลือดหัวข้อธรรมที่เหมาะสม และสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟังอย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง


             ผลจากการศึกษาวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการสื่อสารความเสี่ยงและระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในพระสงฆ์ โดยเฉพาะด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและรูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงที่เหมาะสม เกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพ เพื่อพัฒนาสร้างเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมที่เหมาะสมของพระภิกษุสงฆ์ไทยต่อไป

Article Details

How to Cite
Yodchan, K. ., & Virojno, . V. . (2019). Risk communication form for health promotion In the monk Pichit province. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 6(4), 517–530. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/227644
Section
Research Article

References

Department of Disease Control (2018). Handbook of communication in public health emergencies. Kaew Chao Chom Media and Publications Center; Suan Sunandha Rajabhat University.
Phahurat Kongmuang, Tai Suwan, Sudjit Triwichsilp, Khok Duang Phasuk, (2015). Summary of the meeting project.Academic Risk Communication To counter Ebola virus infection And emerging infectious diseases by cooperation, World Health Organization, Thailand Office and Department of Disease Control. Kaew Chao Chom Media and Publishing Center Suan Sunandha Rajabhat University: Bangkok.
Somphot Iam, Proverbs. (2007). Theories and techniques of behavior modification. (Type 10). Bangkok: Chulalongkorn University.
CDC (2002). Crisis and Emergency Risk Communication. Centers for Disease ControlandPrevention.
WHO (2005). IHR 2005. World Health Organization, Geneva.WHO (2013) Emergency Response Framework. World Health Organization, Geneva.
Becker, M. (1974). The Health Belief Model and personal health behavior. Thorofare, NJ: Charles B. Slack.
Rosenstock, I.M, Strecher, V.J., & Becker, M.H. (1988). Social learning theory and the Health Belief Model.Health Education. Quarterly, 15(2), 175-183.
Boonchuay Sirintharo.Statute of Buddhist monk's health. (2017): o.s.printing house company limited.
Somchai Si Nok. (2012). Buddhist Communication. Mahachulalongkornrajvidyalaya University. Mahachulalongkornrajvidyalaya printing.
Vichan Pawan.(2016). Perception of information, knowledge and behavior of disease prevention and health hazards of Thai people.Journal of health sciene reseach.Volume 11 no.1,72.
Prakru Suvithanpatthanabandit.(2015).Model development of monk’s holistic health care in Khon Kaen province through the network participation. Academic journal Office of Disease Prevention and Control 6 Khon Kaen Province. Year 22. Issue 2.