THE BUDDHISTINTEGRATED GUIDELINES FOR SCHOOL ADMINISTRATION OF BAN KHAM - OR SCHOOL UNDER UDONTHANI PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE III
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นในการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนบ้านคำอ้อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 2) เพื่อสร้างแนวทางการบริหารสถานศึกษาเชิงพุทธบูรณาการ โรงเรียนบ้านคำอ้อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการบริหารสถานศึกษาเชิงพุทธบูรณาการ โรงเรียนบ้านคำอ้อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสานดำเนินการศึกษาความคิดเห็นในการบริหารสถานศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 227 คน โดยใช้แบบสอบถาม สร้างแนวทางการบริหารสถานศึกษาเชิงพุทธบูรณาการ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 รูป/ท่าน และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 รูป/ท่าน นำเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาเชิงพุทธบูรณาการ โดยการจัดการสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูป/ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า
- ความคิดเห็นในการบริหารสถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาด้านคุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับน้อย
- แนวทางการบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมพบว่า มีการกำหนดกิจกรรมและวิธีการในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนครอบคลุมภารกิจงาน 4 ด้าน ได้แก่ คุณภาพของผู้เรียน กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผลตามกระบวนการบริหารวงจรคุณภาพ(Deming Cycle) โดยบูรณาการกับหลักธรรม อริยสัจ 4 และอิทธิบาท 4 ที่สอดคล้องกับหลักองค์ 4 แห่งการศึกษา คือพุทธิศึกษาจริยศึกษาหัตถศึกษาและพลศึกษา
- นำเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษา พบว่า คุณภาพแนวทางโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และได้นำเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาเชิงพุทธบูรณาการ ดังนี้ 1) ด้านคุณภาพของผู้เรียนเสนอกิจกรรม และวิธีการพัฒนาผู้เรียนตามเป้าหมาย ผู้เรียนดี เก่ง มีความสุข2) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาเสนอกิจกรรม และวิธีการพัฒนาสถานศึกษาตามเป้าหมาย ผู้เรียนดี ครูดี โรงเรียนดี สังคม สิ่งแวดล้อมดี3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเสนอกิจกรรม และวิธีการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนตามเป้าหมาย ครูดี ผู้เรียนดี 4) ด้านระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล เสนอกิจกรรม และวิธีการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในตามเป้าหมาย คุณภาพดี