THE MODEL OF STUDENT DEVELOPMENT IN ACCORDANCE WITH THE PROJECTWHITE EDUCATIONAL INSTITUTIONS INTEGRATED WITH BUDDHISM
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานได้แก่การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และ การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุขของผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวเชิงพุทธบูรณาการ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุขนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งกำลังเรียนอยู่ของผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวเชิงพุทธบูรณาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 1,419 คนกลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 306 คนโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน กลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ซึ่งเป็นการเลือกแบบเจาะจง จากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามโครงการสถานศึกษาสีขาวและกลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงทดลอง จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุขของผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาว2) แบบสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวเชิงพุทธบูรณาการ 3) หลักสูตรค่ายพัฒนาทักษะชีวิตเชิงพุทธบูรณาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent Samples กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05ผลการวิจัยพบว่า
- ผู้เรียนมีพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุข โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน (=2.63)
- รูปแบบการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวเชิงพุทธบูรณาการ ได้แก่ ค่ายพัฒนาทักษะชีวิตเชิงพุทธบูรณาการ ประกอบด้วยกระบวนการจัดกิจกรรมเชิงพุทธบูรณาการ 8 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างศรัทธาและความเชื่อใจ ขั้นที่ 2 ขั้นเสนอปัญหาและข้อสงสัย ขั้นที่ 3 ขั้นสังเกต ขั้นที่ 4 ขั้นสำรวจและสัมผัส ขั้นที่ 5 ขั้นสืบค้น ขั้นที่ 6 ขั้นสั่งสมปัญญา ขั้นที่ 7 ขั้นสรุปและประเมินผล ขั้นที่ 8 ขั้นประยุกต์ใช้
- ผลการการเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุข ของผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอหนองหาน ด้านกาย (กายภาวนา) ด้านทักษะทางสังคม (ศีลภาวนา) และด้านจิตใจ (ศีลภาวนา) จากการประเมินก่อนการพัฒนา นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 41.11 และผลการประเมินหลังการพัฒนา คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.38 มีคะแนนผลการพัฒนาพฤติกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.27 ส่วนผลสัมฤทธิ์ด้านการพัฒนา(ปัญญาภาวนา) มีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่า รูปแบบการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวเชิงพุทธบูรณาการ ที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียนให้ปลอดยาเสพติดและอบายมุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
และเยาวชน”. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด,2558.
ทิศนา แขมมณี.ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้.พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2545
สำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา.คู่มือการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยา
เสพติดและอบายมุขฉบับปรับปรุง.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2559.
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อเด็กและผู้มีความต้องการพิเศษ.สถานการณ์และปัญหาของ
เด็กและเยาวชนในท้องถิ่น. คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.(ม.ม.ป.)
ณัฐวิทย์ พรหมศร.หลักการในการจัดการศึกษาของพุทธศาสนาและการจัดการศึกษาไทย
ตามแนวพุทธศาสนา.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: ttps://www.gotoknow.org/
posts/492342 [1 ม.ค.2562].