Sustainable Leadership of Private School Principals under Jurisdiction of Khonkaen Educational Office
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น2)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น การดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน และครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น จำนวน 127 โรงเรียน ผู้บริหาร 127 คน ครูผู้สอน 2,425 คน รวม 2,552คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน92คน เลือกแบบเจาะจงครูจำนวน331คน เลือกแบบสุ่มอย่างง่าย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Reacting Scale) มีค่าคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (0.84) ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับ (0.96) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดสนทนากลุ่มแบบเจาะจง (Focus Group Discussion) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ตามกรอบแนวคิดและประเด็นอื่นที่พบและนำมาสรุปเป็นประเด็น ผลงานวิจัยพบว่าภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่นในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1)ความลุ่มลึกในองค์ความรู้ 2)การมีจุดยืนที่มั่นคง มีจุดก้าวเดินที่ยาวไกล 3)ความกว้างขวางครอบคลุมสมบูรณ์แบบ 4)การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเกื้อกูลกัน 5)ความหลากหลายวิธีสู่ความสำเร็จและเป้าหมาย แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ได้แก่ 1)มุ่งผลลัพธ์ 2)มีกลยุทธในการบริหาร 3)มุ่งเน้นกระบวนการแทนเน้นที่แผน 4)มีคุณธรรมในการบริหาร 5)เป็นผู้บริหารมืออาชีพ 6)ทำใจปล่อยวาง 7)สร้างเสริมศักยภาพการมีส่วนร่วม 8 )มีการวัดประเมินผลการปฏิบัติงาน 9)สร้างความยั่งยืนมั่นคงในองค์กร
Article Details
References
ทิวากานต์ ศรีสวัสดิ์.(2558). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎดีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธีระ รุญเจริญ.(2556).ความเป็นมืออาชีพ ในการจัดการและบริหารการศึกษา ยุคปฎิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ:บริษัทแอล.พี.เพรช.จำกัด.
บุญรอด เหลืองาม.(2560).ยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนเอกชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
Davies, Brent (2007). Developing Sustainable Leadership,London:ECIYISP.
Fullan,M.(2013).The Six Secrets of Change.NewYork:Johnwiley&cons.
Gayle,C.A.(2014).Leadship for Sustainable Future. Massacchusetts.Edwaerd ElgarPublishig.
KalanAbdil.(2012).Creative leadership in the Global Knowledge Economy.Retrieved January II,2015 From http// www.india.Jbs cam.ac.uk/new/events/2009/09063_abdul_kalam.htm/.
Kotter, John P. (2016), Modol Planning for Higher Education. Journal of Higher Education,52,470-489.