การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

วรัฏฐา อุปชิตกุล
สมพงษ์ พันธุรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากกรอบแนวคิดที่กำหนดขึ้น และ (2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้จากกรอบแนวคิดกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 300 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีลักษณะเป็นคำถามแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 24 ข้อ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและองค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อทดสอบความสอดคล้องโมเดลการวัดสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์


ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 8 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นองค์ประกอบที่ 1 ด้านความรู้ จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านทักษะ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 3 ด้านเจตคติ จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ (2) ผลวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าองค์ประกอบและตัวบ่งชี้โมเดลสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไคสแควร์ = 561.771, p-value = 0.071, df = 28, ค่าสถิติไคสแควร์สัมพัทธ์ = 1.624 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน CFI = 0.985 และ TLI = 0.967 ซึ่งมีค่าเกิน 0.950 และ เข้าใกล้ 1 แสดงถึงข้อมูลมีความสอดคล้องกลมกลืนกัน ข้อมูลดังกล่าวเหมาะสำหรับข้อมูลที่สมมุติขึ้น ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือมาตรฐาน (SRMR) = 0.027 และค่ารากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่าง (RMSEA) = 0.046 มีค่าน้อยกว่า 0.050 และเข้าใกล้ 0 แสดงถึงขนาดของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์มีค่าความคลาดเคลื่อนน้อย สำหรับค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (gif.latex?\beta ) อยู่ระหว่าง 0.754 – 1.000 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานมากที่สุดคือ การมีวิจารณญาณและความรับผิดชอบ ความรู้เกี่ยวกับไอซีที การเข้าถึงและเก็บรวบรวมข้อมูล และการรับรู้ถึงคุณค่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551). การวิจัยและตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนา.พลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) ส านักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).

น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2556). การพัฒนาแบบวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น: การประยุกต์ใช้แนวคิดการเข้าถึงคุณลักษณะที่มุ่งวัดของแบบสอบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันดี โค้ไพบูลย์. (2555). สมรรถนะไอซีทีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น:โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับที่มีและไม่มีการส่งผ่านที่ถูกกำกับ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

European Schoolnet, Belgium. (2005). National ICT Policies. [Online]. Available from : http://insight.eun.org [accessed 3 May 2019].

Bembridge, E., Levett-Jones, T., & Jeong, S. Y . S. (2011). The Transferability of Information and Communication Technology Skills from University to The Workplace: A Qualitative Descriptive Study. Nurse Education Today, 31(3), 245-252.

Gudmundsdottir, G. B. (2010). From Digital Divide to Digital Equity: Learners’ ICT Competence in Four Primary Schools in Cape Town, South Africa. International Journal of Education and Development using Information and Communication Technology (IJEDICT), 6, 21-22.

Hair, J.F., Anderson, R.E., Tatham, R.L., & Black, W.C. (1998). Multivariate Data Analysis. 5th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Inan, F. A., Lowther, D. L., Ross, S. M., & Strahl, D. (2010). Pattern of classroom activities during students’ use of computers: relations between instructional strategies and computer applications. Teaching and Teacher Education, 26(3), 540–546.

Kennewell, S., & Morgan, A. (2006). Factors Influencing Learning through Play in ICT Settings. Computers & Education, 46(3), 265-279.

Lai, C., Wang, Q., & Lei, J. (2012). What Factors Predict Undergraduate Students' Use of Technology for Learning? A Case from Hong Kong. Computers & Education, 59(2), 569-579.

Park, S. Y., Nam, M. W., & Cha, S. B. (2012). University Students' Behavioral Intention to Use Mobile Learning: Evaluating the Technology Acceptance Model. British Journal of Educational Technology, 43(4), 592-605.

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (1996). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. Mahwah, NJ: Lawrence Earlbaum.

UNESCO. (2008). ICT Competency Standards for Teacher: Policy Framework. Available from : http://unesdoc.org/images/0015/001562/15610E.pdf [accessed 11 December 2018].

UNESCO. (2008). ICT Competency Standards for Teachers: Competency Standard Modules [Online]. Available from : http://unesdoc.unesco.org/images/0015/001562/156207e.pdf [accessed 11 December 2018]

Verhoeven, J. C., Heerwegh, D., & Wit, K. D. (2010). First Year University Students’ Self Perception of ICT Skills: Do Learning Styles Matter?. [Online]. Available from : https://lirias.kuleuven.be/bitstream/123456789/291766/1/LearningStyles.pdf [accessed 11 December 2019].