การพัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ระดับประถมศึกษาโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (2) ประเมินคุณภาพของระบบที่พัฒนาวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ การวัดและประเมินผล การบริหารการศึกษา จำนวน 13 คน และครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 3 และ 5 ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 360 คน เครื่องมือวิจัย คือ ร่างระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ฯ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความสอดคล้องของเครื่องมือวัด แบบประเมินคุณภาพร่างระบบ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโปรแกรม แบบสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียนโดยครู จำนวน 3 ฉบับ และแบบประเมินตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม และนำแบบวัดทั้ง 4 ฉบับ ไปทดลองใช้กับครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 3 และ 5 ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจสอบอำนาจจำแนก ความตรงเชิงโครงสร้าง และความเที่ยงของเครื่องมือวัด ตลอดจนการทำงานของโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การประเมินคุณภาพของระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน จำนวน 300 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ ระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ฯ คู่มือการใช้ระบบฯ และแบบประเมินคุณภาพของระบบฯ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย คน เงิน วัสดุ และข้อมูลสารสนเทศ (2) กระบวนการ ประกอบด้วย การกำหนดพันธกิจ การทบทวนข้อมูล การวางแผนอนาคตของการดำเนินการกำกับ ติดตาม และประเมินผล (3) ผลลัพธ์ คือ รายงานผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนรายบุคคล รายพฤติกรรม และการรับรองมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา (4) ข้อมูลย้อนกลับ คือ รายงานผลการกำกับ ติดตาม และประเมิน เพื่อปรับปรุงและพัฒนา และ (5) สภาพแวดล้อม คือ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 และ 2) ผลการประเมินคุณภาพของระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ฯ พบว่า ระบบมีคุณภาพตามมาตรฐานการประเมิน คือ ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ ในระดับมากที่สุด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2554). อุปนิสัยศึกษากับวิชาศึกษาทั่วไป. การบรรยาย วันที่ 8 มิถุนายน 2554. มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.
ณพัฐอร เฮงสมบูรณ์. (2557). การนำเสนอแนวทางการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจากการวิเคราะห์แนวปฏิบัติดี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัดและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัญจวน คำวชิรพิทักษ์. (2557). พัฒนาการมนุษย์กับการแนะแนว. ใน เอกสารการสอนชุดจิตวิทยาและสังคมวิทยาพื้นฐานเพื่อการแนะแนว (หน่วยที่ 2, น. 1-61). นนทบุรี : มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
โรสนี จริยะมาการ, สุวิมล ว่องวาณิช และสร้อยสน สกลรักษ์. (2559). การสร้างความสามารถในการประเมินของครูเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยของนักเรียน โดยใช้แนวคิดประเมินแบบเสริมพลังอำนาจและกระบวนการสอนโดยใช้การประเมินเป็นฐาน : การศึกษารายกรณี. วารสารวิจัย มสด, 12(1), 73-92.
วิชัย ตันศิริ. (2550). อุดมการณ์ทางการศึกษา : ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สามลดา.
สิทธิชัย เจริญพิวัฒนพงษ์. (2552). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามแนวการบริหารงานแบบมุ่งคุณภาพทั่วทั้งองค์การ สำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Fetterman, D.M., Kaftarian, S.J. and A. Wandersman. (2015). Empowerment evaluation. 2nd ed. California : Sage.
Lunenberg, F.C. (2010). Schools as Open System. Schooling, 1(1), 1-5.
Rossi, P.H., Lipsey, M.W. and H.E. Freeman. (2004). Evaluation a systematic approach. 7th ed. California : Sage.
Stufflebeam, D.L. and others. (1981). Standard for evaluation of education programs, projects and materials.The Joint committee on standards for education evaluation. New York : McGraw-Hill.