การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาครู

Main Article Content

จิราภรณ์ มีสง่า
ชนกานต์ ขาวสำลี

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาครู โดยดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาครู โดยมีผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 การทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาครู ประชากรเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่เรียนรายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ จำนวน 282 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 87 คน ได้แก่ สาขาสังคมศึกษา สาขาพลศึกษา และการศึกษาพิเศษและการสอนภาษาไทยได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาครู มาตราส่วนประมาณค่า และแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test for dependent) ผลการวิจัย พบว่า


1.  รูปแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ หลักการ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล โดยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน เรียกว่า “3STA” ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้สังคม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ และการประเมินผล ซึ่งรูปแบบชุมชนแห่งการสืบสอบในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด


2. ผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาครู พบว่า หลังการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการสืบสอบนักศึกษาครูมีทักษะการคิดขั้นสูงสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เชษฐา แก้วพรม. (2556). การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเขียนบันทึกการเรียนรู้ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 24(2), 12-20.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2549). การนำเสนอรูปแบบเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูงของนิสิตนักศึกษาครูระดับปริญญาตรี สำหรับหลักสูตรครุศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 6 ฉบับเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรจง อมรชีวิน. (2554). Thinking School สอนให้คิด. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์. (2544). ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญาที่มีต่อทักษะการคิดของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ.

ปิยาภรณ์ พุ่มแก้ว. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสะท้อนคิดของนักศึกษาครู. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 25(1), 188-205.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). ครูยุคศตวรรษที่ 21.[ออนไลน์]. ได้จากhttp://seminar.qlf.or.th/File/DownloadFile/ [สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562].

ฤทัยรัตน์ ธรเสนา. (2546). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบช่วยเสริมศักยภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาล. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 8. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ.

Beyer, B. K. (1997). Improving Students Thinking: A Comprehensive Approach. Boston: Allyn and Bacon, Inc.

Biological Science Curriculum Standard: BSCS. (2006). The BSCS 5E Instructional Model : Origins and Effectiveness. [n.p.].

Davis, G.A., & Rimm, S.B. (1994). Education of the Gifted and Talented. 3rd ed. Boston:Allyn and Bacon.

Demissie, F. (2015). Promoting Student Teachers’ Reflective Thinking Through a Philosophical Community of Enquiry Approach. Australian Journal of Teacher Education, 40(12).

Freakley, M., & Burgh, G. (2000). Engaging with Ethic: Ethical Inquiry for Teachers.Australia: Social Science Press.

Higuchi, K.A., & Donald, J.G. (2002). Thinking Processes Used by Nurses in Clinical Decision Making. Journal of Nursing Education, 41(4), 145-153.

Keeves, P. J. (1988). Model and Model Building. Educational research. Methodology and Measurement: An international Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Shea, P. & Bidjerano, T. (2009). Cognitive presence and online learner engagement: a cluster analysis of the community of inquiry framework. Journal of Computing in Higher Education, 21, 199–217.

Williams, R., & Wessel, J. (2004). Reflective journal writing to obtain student feedback about their learning during the study of chronic musculoskeletal conditions. Journal of Applied Health, 33(1), 17-23.

Yule, S. and Glaser, J. (1994). Classroom Dialogue and the Teaching of Thinking. Research Report: The University of Melbourne.