การพัฒนารูปแบบการสอนแบบคละชั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และ
สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียน ยึดหลักว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ การพัฒนารูปแบบ
การสอนที่เหมาะสมจึงสามารถที่จะช่วยพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่ง
หมาย 4 ประการคือ 1) เพื่อสํารวจสภาพปัจจุบันและความต้องการในการสอนแบบคละชั้นกลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา 2) เพื่อร่างรูปแบบและประเมินร่างรูปแบบการสอนแบบ
คละชั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบ
คละชั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการสอน
แบบคละชั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยการวิจัยประกอบด้วยขั้นตอน
ต่อไปนี้ ระยะที่ 1 การสํารวจสภาพปัจจุบันและความต้องการในการสอนแบบคละชั้นกลุ่มสาระการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยการสํารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันในการสอน
เก็บรวบข้อมูลจากครูผู้สอนแบบคละชั้นกลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์ จํานวน 16 คน และการศึกษา
ความต้องการจําเป็นในการพัฒนารูปแบบการสอน เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก
จํานวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การร่าง
รูปแบบและประเมินร่างรูปแบบการสอนแบบคละชั้นกลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับ
ประถมศึกษา โดยร่างรูปแบบตามข้อมูลที่ได้สํารวจมาแล้วในระยะที่ 1 และประเมินร่างรูปแบบโดย
ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ร่างรูปแบบการสอนและแบบ
ประเมินร่างรูปแบบการสอน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบคละชั้นกลุ่มสาระการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ประชากร ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จํานวน 94 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียน
บ้านขามใต้ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ภาคเรียนที่ 1 ปี
การศึกษา 2554 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเป็นนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 18 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 10 คน รวม
นักเรียนทั้งหมดจํานวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 4
การประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนแบบคละชั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
ําการประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) โดยศึกษาความ
คิดเห็นของศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียนบ้านขามใต้ ด้านผลลัพธ์ (Output) โดย
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการสอน เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. จากสภาพปัจจุบันในการสอนครูผู้สอนแบบคละชั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ระดับประถมศึกษามีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจําเป็นของผู้บริหารโรงเรียน
ขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีความต้องการให้พัฒนารูปแบบการสอนแบบคละชั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ใช้ในโรงเรียน
2. รูปแบบการสอนแบบคละชั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการ
เรียน มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด
3. ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนแบบคละชั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ระดับประถมศึกษา เท่ากับ 75.20 / 70.10 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ 70 / 70 ที่กําหนดไว้ ดัชนี
ประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.5797 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 12.40 คะแนน
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนแบบคละชั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ระดับประถมศึกษา ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) ระดับความเหมาะสมมากที่สุด ด้านกระบวนการ
(Process) ระดับความเหมาะสมมากที่สุด ด้านลัพธ์ (Output) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนเฉลี่ย
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 12.40 คะแนน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น
โดยสรุป รูปแบบการสอนแบบคละชั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนและมีความพึงพอใจในการเรียน ทําให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข จึงควรสนับสนุนให้
ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์นํารูปแบบการสอนนี้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีการ
จัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนที่สูงขึ้นต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น