ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคิดขั้นสูง ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

รักยิ่ง หงษ์ประสิทธิ์
สมนึก ภัททิยธนี
อารยา ปิยะกุล

บทคัดย่อ

การคิดขั้นสูงเป็นกระบวนการทางสมองที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการที่ซับซ้อนและ
มีขั้นตอนการคิดหลายขั้นตอนซึ่งเป็นสิ่งสําคัญสําหรับการดํารงชีวิตในสังคมปัจจุบันดังนั้น
นักเรียนควรได้รับการพัฒนากระบวนการคิดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีสาเหตุหลายประการที่
ส่งผลต่อการคิดขั้นสูง การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผล
ต่อการคิดขั้นสูงของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดอุดรธานี และเพื่อพัฒนารูปแบบ
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่ส่งผลต่อการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2553 จํานวน 843 คนจากโรงเรียน 26 โรง ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบหลาย
ขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิดได้แก่
แบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 3 ฉบับๆละ12ข้อ ฉบับที่ 1 เป็นแบบทดสอบวัด
การคิดวิเคราะห์ซึ่งมีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ .33-.77 ค่าอํานาจจําแนกรายข้อ
ตั้งแต่ .26-.60 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .83 ฉบับที่ 2 เป็นแบบทดสอบการคิด
แก้ปัญหา มีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ .34-.77 ค่าอํานาจจําแนกรายข้อตั้งแต่ .24-.68
และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .80 ฉบับที่ 3 เป็นแบบทดสอบการคิดอย่างมี
วิจารณญาณ มีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ .36 - .80 ค่าอํานาจจําแนกรายข้อตั้งแต่ .28-
.58 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .86 ชนิดที่ 2 เป็นแบบวัดปัจจัยเชิงสาเหตุที่มี
อิทธิพลต่อการคิดขั้นสูง 5 ด้านๆละ 12 ข้อ ได้แก่ ด้านสไตล์การเรียน มีค่าอํานาจ
จําแนกรายข้อตั้งแต่ .51-.71 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 ด้านความเชื่ออํานาจภายในตน
มีค่าอํานาจจําแนกรายข้อตั้งแต่ .22-.71 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 ด้านเจตคติต่อการ
เรียนมีค่าอํานาจจําแนกรายข้อตั้งแต่ .31-.66 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 ด้านแรงจูงใจ
ใฝ่สัมฤทธิ์มีค่าอํานาจจําแนกรายข้อตั้งแต่ .42-.63 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 ด้าน
ความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง มีค่าอํานาจจําแนกรายข้อตั้งแต่ .20-.61 และมีค่าความ
เชื่อมั่นเท่ากับ .80 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ด้วย
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ตัวแปรเชิงสาเหตุทั้ง 5 ตัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถใน
การคิดขั้นสูงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง
.39 ถึง .61 โดยตัวแปรสาเหตุที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการคิดขั้นสูงจากมาก
ไปหาน้อย ได้แก่ ความเชื่ออํานาจภายในตน เจตคติต่อการเรียน ความเอาใจใส่ของ
ผู้ปกครอง สไตล์การเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตามลําดับ
2. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความสามารถ
ในการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดอุดรธานี มีความสอดคล้องกับ
ข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 218.44 , df = 196 , P = 0.13 , CFI = 1.00 , GFI = 0.98
,AGFI = 0.96, RMR = 0.031 , RMSEA = 0.018) ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อ
ความสามารถในการคิดขั้นสูงคือ เจตคติต่อการเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่า
สัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .18 และ .04 ตามลําดับ และตัวแปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรง
และทางอ้อมต่อความสามารถในการคิดขั้นสูงเรียงตามลําดับตามความสําคัญดังนี้ คือ
ความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง ความเชื่ออํานาจภายในตน และสไตล์การเรียน มีค่า
สัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .57 , .42 และ .21 ตามลําดับ โดยตัวแปรเชิงสาเหตุทั้งหมด
สามารถร่วมอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการคิดขั้นสูงได้ร้อยละ 46.00
โดยสรุป ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนําไปใช้เป็นข้อสนเทศที่จะพัฒนาการเรียน
การสอนให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านการเรียน โดยเฉพาะตัวแปรความเชื่อมั่นภายในตน
ซึ่งผู้ปกครองต้องเอาใจใส่ต่อการเรียนของนักเรียน เพราะตัวแปรนี้จะส่งผลทําให้ผู้เรียนมี
คุณภาพและประสิทธิภาพต่อการคิดขั้นสูงต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย