ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการมองโลกของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนจากสังคม
การเห็นคุณค่าในตนเอง การปรับตัว ความวิตกกังวล ความฉลาดทางอารมณ์ การกําหนดเป้าหมายใน
อนาคตและคุณภาพชีวิตกับความเข้มแข็งในการมองโลก 2) พัฒนาและตรวจสอบความกลมกลืนของ
โมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งในการมองโลก และ 3) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของตัวแปรที่มี
อิทธิพลต่อความเข้มแข็งในการมองโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดหนองคาย กลุ่ม
ตัวอย่าง จํานวน 907 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบ
วัดชนิดมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ได้แก่ แบบวัดความเข้มแข็งในการมองโลก แบบวัดการ
สนับสนุนจากสังคม แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบวัดการปรับตัว แบบวัดความวิตกกังวล แบบ
วัดความฉลาดทางอารมณ์ แบบวัดการกําหนดเป้าหมายในอนาคต และแบบวัดคุณภาพชีวิต สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และ
การวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุ (Path Analysis)
ผลการวิจัยพบดังนี้
1. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรสาเหตุกับความเข้มแข็งในการมองโลก มีค่าอยู่
ระหว่าง .024 ถึง .665 มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปร
ที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งในการมองโลกจากน้อยไปหามากได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์
ความวิตกกังวล การกําหนดเป้าหมายในอนาคต การปรับตัว คุณภาพชีวิต การเห็นคุณค่าในตนเอง
และการสนับสนุนจากสังคม
2. โมเดลที่ได้มีความกลมกลืนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( χ 2 =193.05, df=165,
p=0.062) ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว
(AGFI) เท่ากับ 0.97 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเข้มแข็งในการมองโลกได้ร้อยละ 72
3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงคือการปรับตัว ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม คือการเห็นคุณค่าใน
ตนเอง การกําหนดเป้าหมายในอนาคต ความวิตกกังวล คุณภาพชีวิต และความฉลาดทางอารมณ์ และ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อความเข้มแข็งในการมองโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ในจังหวัดหนองคาย คือ การสนับสนุนจากสังคม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น