การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะนักเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา อุดรธานี เขต 1 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย

Main Article Content

กรรณิการ์ ทองนํา
สมนึก ภัททิยธนี
สังคม ภูมิพันธุ์

บทคัดย่อ

ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอิทธิพลและบทบาทสําคัญต่อการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงจําเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
ดังกล่าวในอนาคต หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงมุ่งให้ผู้เรียนเกิด
สมรรถนะสําคัญ คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีความรู้ และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติ
ที่จําเป็นซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมทางด้านนี้ เป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถ
ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาตัวชี้วัด
สมรรถนะนักเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 และเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของ
ตัวชี้วัดสมรรถนะนักเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การดําเนินการวิจัยแบ่งออก
ออกเป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะนักเรียนด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จํานวน 17 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม จํานวน 2 ฉบับ สอบถามผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 3 รอบ
รอบแรกใช้แบบสอบถามชนิดปลายเปิด จํานวน 3 ข้อ รอบที่ 2 แบบสอบถามชนิดมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จํานวน 57 ข้อ รอบที่ 3 แบบสอบถามชนิดเดียวกับรอบที่ 2
โดยเพิ่มข้อมูลค่ามัธยฐานและค่าพิสัยควอไทล์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคัดเลือกตัวชี้วัดที่มีค่าทาง
สถิติตามที่กําหนดไว้ คือ มีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.50 – 5.00 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ไม่เกิน
1.50 พบว่า ได้จํานวน 52 ตัวชี้วัด ขั้นที่สอง เป็นการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวชี้วัด
สมรรถนะนักเรียน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่ม
สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี หรือครูผู้สอนที่มีความรู้ และมีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 จํานวน 522 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale)
จํานวน 52 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์สถิติเบื้องต้น ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ตัวชี้วัดสมรรถนะนักเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ได้พัฒนาขึ้นมี
จํานวน 3 ด้าน 52 ตัวชี้วัด ซึ่งประกอบด้วย ด้านความรู้ 25 ตัวชี้วัด ด้านทักษะ 19 ตัวชี้วัด และด้าน
เจตคติ 8 ตัวชี้วัด โดยเรียงน้ําหนักองค์ประกอบจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านทักษะ ด้านเจตคติ
และด้านความรู้ มีน้ําหนักองค์ประกอบเท่ากับ .81, .77 และ .61 ตามลําดับ
2. ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลตัวชี้วัดสมรรถนะนักเรียน
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้ค่าไค-สแคร์ทดสอบ พบว่า
โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 972.81 p = 0.45 ที่
องศาอิสระ (df) 966 ค่า GFI=0 .93 ค่าCFI= 0.91 ค่า AGFI= 0.92 ค่า SRMR = 0.002 และ
ค่า RMSEA=0.045
โดยสรุป ผลการวิจัยครั้งนี้ ทําให้ได้ตัวชี้สมรรถนะนักเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ
การสื่อสาร สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 1
ด้านความรู้ ด้านทักษะ และเจตคติ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งจะเป็น
แนวทางในการสร้างเสริมความรู้ให้กับผู้เรียน และผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของตนเอง
อย่างมีคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย