Item Bias Analysis with Transformed Item Difficulty Methods

Main Article Content

ปริญญา เรืองทิพย์
เดชา วรรณภากุล

Abstract

การวิจัยเรื่อง ผลวิเคราะห์ความลําเอียงของข้อสอบด้วยวิธีแปลงค่าความยาก เป็นการนํา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีการวัดแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการอ้างอิงสรุป กฎของการวัดแบบใหม่
ตามทฤษฎีการตอบสนองของข้อสอบ (IRT) ตลอดจนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับการประมาณ
ค่าต่าง ๆ โดยผู้วิจัยได้ทําการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ของ
มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จํานวน 66 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่มีประสบการณ์ใน
การสอนและกลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์สอนอย่างละเท่ากัน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบวิชาการวัดและ
ประเมินผลการศึกษาชนิดเลือกตอบ 5 ตัวอย่างเลือก จํานวน 30 ข้อ การวิเคราะห์คุณภาพของ
ข้อสอบใช้โปรแกรมสําเร็จรูป B-Index เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ และเตรียมข้อมูลสําหรับ
วิเคราะห์ความลําเอียงของข้อสอบ ผลการศึกษาพบว่าการวิเคราะห์ความลําเอียงของข้อสอบวิชาการวัด
และประเมินผลการศึกษา ของนักศึกษาที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีข้อสอบจํานวน 21 ข้อที่มีดัชนีความ
ลําเอียงน้อยกว่า -.75 หรือมากกว่า .75 แสดงว่ามีความลําเอียงของข้อสอบ การวิจัยครั้งสามารถใช้เป็น
แนวทางในการหาคุณภาพของข้อสอบโดยคํานึงถึงความยุติธรรมของข้อสอบและความแตกต่างละ
ระหว่างบุคคลที่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆต่างกัน

Article Details

Section
Research Article