ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม : การวิจัยแบบผสานวิธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาและ ผล
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยนครพนม (2) ศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผล
ต่อการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม ระหว่างคณะ/วิทยาลัยที่มีผลการ
ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มากกว่า 2.0 และน้อยกว่า 2.0 และ (3) วิเคราะห์จําแนกและสร้าง
สมการปัจจัยที่ส่งผลต่อการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนมกลุ่มตัวอย่างที่
ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน จาก 6 คณะ/วิทยาลัย
จํานวน 222 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการ
วิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน จํานวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จํานวน 1 ฉบับ และแบบ
สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จํานวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์จําแนกกลุ่ม
(Discriminant Analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise Method) โดยวิธี วิลด์แลมป์ดา (Wilk’s
Lamda) ผลการวิจัยพบว่า
1. การดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม มีหน่วยงานที่
รับผิดชอบระดับมหาวิทยาลัยคือสํานักประเมินและประกันคุณภาพการศึกษา ดําเนินการประกัน
คุณภาพการศึกษาภายใน ประจําปีการศึกษา 2552 ตาม 9 องค์ประกอบ 41 ตัวบ่งชี้ ส่วนการ
ดําเนินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีการดําเนินการ จํานวน 6 คณะ/วิทยาลัยได้แก่
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี วิทยาลัยเทคนิคนครพนม คณะ
วิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม วิทยาลัยการ
ท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ บุคลากรทุกระดับ ทุกคณะ/วิทยาลัย เห็นความสําคัญและมีส่วนร่วม
ในการประกันคุณภาพการศึกษา มีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป็นไปในแนวทางที่ดีขึ้น มี
การพัฒนาบุคลากรด้านการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและสม่ําเสมอ จุดเด่นของ
มหาวิทยาลัยคือ มีบุคลากรวัยหนุ่มสาวที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ประเด็นที่ควร
พัฒนา คือ ความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ อาคารสถานที่ บุคลากรที่มีจํานวนจํากัดและประสบการณ์
ในฐานะสถาบันอุดมศึกษา
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม ปี
การศึกษา 2552 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.53 องค์ประกอบที่มีคะแนนสูง
ที่สุด มี 3องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 6 การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม องค์ประกอบที่ 8
การเงินและงบประมาณ และองค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ อยู่ในระดับดีมาก
ได้คะแนนเต็ม 3 คะแนน ส่วนองค์ประกอบที่มีคะแนนต่ําที่สุดคือ องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและ
การจัดการ อยู่ในระดับดี มีคะนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.33
2. ผลการศึกษาเชิงคุณภาพปัจจัยที่ส่งผลต่อการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตาม
ความคิดเห็นของผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดําเนินงาน
ประกันคุณภาพการศึกษา ที่มีความถี่สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ด้านผู้บริหาร ด้านคณาจารย์ ด้าน
งบประมาณ ด้านบุคลากรสายสนับสนุน และด้านวัสดุอุปกรณ์
ผลการศึกษาเชิงปริมาณปัจจัยที่ส่งผลต่อการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
มหาวิทยาลัยนครพนม ปีการศึกษา 2552 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านผู้บริหาร และด้านคณาจารย์ ระดับปานกลาง 11 ด้าน ด้านที่มี
ค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านผู้บริหาร ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ําที่สุดคือ ด้านเศรษฐกิจ
3. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปัจจัยที่ส่งผลต่อการดําเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม ระหว่างคณะ/วิทยาลัยที่มีผลการประเมิน
คุณภาพการศึกษาภายใน มากกว่า 2.0 และน้อยกว่า 2.0 โดยรวมทั้ง 13 ด้าน พบว่าแตกต่างกันอย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีจํานวน 7 ด้าน ที่แตกต่างกันอย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านผู้บริหาร ด้านบุคลากรสายสนับสนุน ด้านงบประมาณ ด้าน
ระบบฐานข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านเทคโนโลยีโดยคณะ/วิทยาลัยที่มีผลการประเมิน
คุณภาพการศึกษาภายใน มากกว่า 2.0 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าคณะ/วิทยาลัยที่มีผลการประเมินคุณภาพ
การศึกษาภายใน น้อยกว่า 2.0 ทั้งโดยรวมและรายด้าน
4. ปัจจัยที่ร่วมจําแนกกลุ่มคณะ/วิทยาลัย ที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
มากกว่า 2.0 และน้อยกว่า 2.0 มี จํานวน 6 ปัจจัย ได้แก่ด้านสังคม (SOC) ด้านผู้เรียน (STU) ด้าน
งบประมาณ (FIN) ด้านทรัพยากร (RES) ด้านเศรษฐกิจ (ECO) และด้านบุคลากรสายสนับสนุน (STA)
โดยสามารถจําแนกกลุ่มคณะ/วิทยาลัยที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มากกว่า 2.0 ได้
ถูกต้องร้อยละ 91.8 สามารถจําแนกกลุ่มคณะ/วิทยาลัยที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
น้อยกว่า 2.0 ได้ถูกต้อง ร้อยละ 45.3 ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยรวมพบว่าสมการสามารถคาดคะเนทั้งสอง
กลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 77.6 ดังสมการ
สมการในรูปคะแนนดิบ คือ
Y' = -0.201-1.256SOC+0.651STU+1.012FIN-1.570RES+0.686ECO+0.753STA
สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ
Zy' = -0.753ZSOC+0.419ZSTU+0.726ZFIN-1.003ZRES+0.519ZECO+0.552ZSTA
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น