คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้ปกครองท้องที่ ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, คุณลักษณะที่พึงประสงค์, ผู้ปกครองท้องที่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปกครองท้องที่ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปกครองท้องที่ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ และ 3) นำเสนอคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้ปกครองท้องที่ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน จากประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้น จำนวน 98,561 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบ และค่าเอฟ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปกครองท้องที่ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.02) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านคุณลักษณะ ( =4.04) ด้านตามสถานการณ์ ( =4.03) ด้านการเปลี่ยนแปลง ( =4.01) และด้านพฤติกรรม ( =4.00) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปกครองท้องที่ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีอายุ อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปกครองท้องที่ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย และ 3) ผลการนำเสนอ พบว่า (1) ด้านคุณลักษณะ คือ ผู้ปกครองท้องที่ควรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ รอบรู้กฎหมาย เป็นผู้ที่มีความอดทนสูง มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ มีรูปร่างสมบูรณ์สมส่วน (2) ด้านพฤติกรรม ผู้ปกครองท้องที่ควรเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี เพราะผู้นำถ้าหากประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่ดี ก็จะส่งผลให้ผู้ตามประพฤติปฏิบัติดีตามไปด้วย (3) ด้านตามสถานการณ์ ผู้ปกครองท้องที่ควรมีไหวพริบปฏิภาณ สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการในการปกครองได้อย่างกลมกลืน สามารถประเมินสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า
มีการวางแผนเป็นลำดับขั้นตอนและสามารถแก้ไขปัญหาได้ในทุกๆ สถานการณ์ (4) ด้านการเปลี่ยนแปลง ผู้ปกครองท้องที่ควรเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความสามารถบริหารจัดการด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่ทันสมัย สามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างชัดเจนและทำได้จริง

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

พระนรินทร์ เอมพันธ์ ผศ.ดร., มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ

รัฐศาสตรดุษฏีบัณฑิต

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เจริญทิพย์ อร่ามรุ่งโรจน์. (2560). “คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ใหญ่บ้านในศตวรรษที่ 21 ในทัศนะของประชาชนอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประกาศจังหวัดชัยภูมิ. (2564). ผลการพิจารณาคัดเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2564. ชัยภูมิ : ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ.

ราตรี แสงจิต. (2548). “คุณลักษณะผู้ใหญ่บ้านในความคาดหวังของประชาชน : ศึกษากรณีชุมชนในเขตตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิฑูรย์ เผือกผุด. (2559). “ประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการปกครองท้องที่ตำบลศาลาลัย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2544). ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติ ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิรัตน์ เอ็คดูเคชั่น.

สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2566). อำเภอหนองบัวแดง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/53. htm [26 กุมภาพันธ์, 2566].

ส่วนบริหารงานกำนันผู้ใหญ่บ้าน สำนักบริหารการปกครองท้องที่. (2564). คู่มือปฏิบัติงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ. กรุงเทพมหานคร : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

Silverman. D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London: Sange.

Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-08