ศึกษาแนวทางปฏิบัติเพื่อข้ามพ้นสังสารวัฏตามหลักพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
แนวทางปฏิบัติ, เพื่อข้ามพ้น, หลักสังสารวัฏบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาสังสารวัฏของตามหลักไตรสิกขา2) เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติสำหรับข้ามพ้นสังสารวัฏตามหลักพระพุทธศาสนา 3) เพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติเพื่อข้ามพ้นสังสารวัฏตามหลักไตรสิกขา โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เอกสารงานวิชาการทางพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า สังสารวัฏตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา คือหลักคำสอนว่าด้วยเรื่องของกฎธรรมชาติที่มีอยู่ คือการเวียนว่ายตายเกิดของเหล่าสรรพสัตว์ในภพภูมิต่าง ๆ อันไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาที่ยังมีมีกิเลสหนาอยู่ก็ย่อมมีโอกาสกระทำกรรมชั่วบ้าง ทำกรรมดีบ้าง ชีวิตก็จะเวียนว่ายตายเกิดและรับผลแห่งการกระทำของตนในสังสารวัฏ จะสิ้นสุดได้ก็ต่อเมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว
การตัดสังสารวัฏนั้นต้องอาศัยหลักธรรม 2 ประการได้แก่ 1 หลักไตรสิกขา 3 อันได้แก่ ศีล เป็นเครื่องฝึกพฤติกรรม สมาธิ เป็นเครื่องฝึกจิต และปัญญา เป็นเครื่องฝึกรู้เท่าทันธรรมดาของโลกและชีวิต ประการที่ 2) อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ ได้แก่ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นแก่มนุษย์ในรูปของความบีบคั้น สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ หรือภาวะที่สิ้นปัญหา และมรรค ได้แก่ มรรคาอันนำไปสู่ความดับทุกข์ กล่าวคือ มรรคมีองค์ 8 ประการ
แนวทางการปฏิบัติเพื่อข้ามพ้นสังสารวัฏตามหลักไตรสิกขาและอริยสัจ 4 คือการพัฒนาจิตให้พ้นจากอกุศลกรรม เพื่อบรรลุพระนิพานอันเป็นบรมธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ อันเป็นแนวทางปฏิบัติที่ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก เพราะสังสารวัฏไม่มีที่สิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลกทั้งหลาย การข้ามพ้นสังสารวัฏต้องปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาและอริยสัจ 4
Downloads
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (๒๕๓๙).พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (๒๕๕๐).พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
จำลอง ดิษยวณิช. (๒๕๔๔).จิตวิทยาของความดับทุกข์. เชียงใหม่ : กลางเวียงการพิมพ์,
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙. (๒๕๔๘).ราชบัณฑิต. พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำ
วัดกรุงเทพมหานคร : วัดราชโอรสาราม,
พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตติวุฒโฑ ภิกขุ).(๒๕๕๗).กรรมและการให้ผลของกรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๔.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหธรรมิก,
พระมหาชลัน ภูริวฑฺฒโน (ชลันรัตน์). “การวิเคราะห์วิบากกรรมของบุคคลตามที่ปรากฏ ในอรรถกถาธรรม”.
วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์