การบริหารจัดการเครือข่ายป่าชุมชน: ศึกษากรณีป่าชุมชนเขาวง ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พระมหานราวิชญ์ โสภารักษ์ -
  • กัลยา แซ่อั้ง

คำสำคัญ:

เครือข่าย, ป่าชุมชน, การบริหารจัดการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการเครือข่ายป่าชุมชนเขาวง (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการดำเนินงานเครือข่ายป่าชุมชนเขาวง และ (3) เพื่อศึกษาเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการเครือข่ายป่าชุมชนเขาวง โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้าข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ 1) กลุ่มสมาชิกเครือข่ายภาคประชาชนจากชุมชนรอบแนวเขตป่าชุมชนเขาวง ได้แก่ ผู้นำชุมชน ทั้ง 5 หมู่บ้าน 2) กลุ่มบุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะเฆ่ และ 3) กลุ่มบุคลากรจากองค์กรภาครัฐส่วนกลาง ได้แก่ บุคลากรกรมป่าไม้ บุคลากรกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพันธุ์พืช รวมถึงจากสถานศึกษา ผลการศึกษาพบว่า การบริหารจัดการเครือข่ายป่าชุมชนเขาวง มีการดำเนินกิจกรรมในแต่ละด้านของกลุ่มของตัวแสดงในเครือข่าย ประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และกลุ่มองค์กรภาครัฐ ที่มีบทบาทในการบริหารจัดการเครือข่ายป่าชุมชนเขาวง เป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ การจัดโครงสร้างการทำงานเป็นไปตามศักยภาพของตัวแสดงและบริบทของพื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนของสังคมในลักษณะของเครือข่ายเชิงพื้นที่และเครือข่ายเชิงประเด็นกิจกรรม ความร่วมมือที่เกิดขึ้น คือ การดำเนินกิจกรรมด้านการดูแลรักษาป่า ป้องกันไฟป่า และกิจกรรมด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผ่านการแลกเปลี่ยนทรัพยากรและการเกื้อหนุนพึ่งพากัน มีการกำหนดจุดมุ่งหมายร่วมกันซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการทำงานในรูปแบบเครือข่ายที่นำไปสู่ความสำเร็จ สำหรับประสิทธิผลของการบริหารจัดการเครือข่าย พบว่า 1) เกิดกระบวนการเรียนรู้ 2) การเพิ่มโอกาสในการแก้ไขปัญหา 3) เกิดการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น และ 4) เกิดกระบวนการผลักดันเชิงนโยบาย นอกจากนี้ ยังพบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการเครือข่าย ได้แก่ 1) ความสามัคคีของสมาชิกป่าชุมชนเขาวง ทั้ง 5 ชุมชน 2) การสนับสนุนและการประสานงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) การส่งเสริมและการให้คำปรึกษาจากองค์กรภาครัฐ

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

เกษราภรณ์ อุ่นเกิด, พสุธา สุนทรห้าว, และ ลดาวัลย์ พวงจิตร. (2558). การประเมินมูลค่าคาร์บอนที่กักเก็บในไม้ยืนต้นของป่าชุนชนเขาวง จังหวัดชัยภูมิ วารสารวนศาสตร์, 34(1 ).

เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย: ยุทธวิธีเพื่อประชาชนเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

นริศร์พงศ์ ชำนาญบริรักษ์. (2545). พฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าไม้ของราษฎรรอบแนวเขตป่าชุมชนป่าเขาวง ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่าย : ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

ยุทธศาสตร์กรมป่าไม้. (2562). นโยบายป่าไม้แห่งชาติ. สืบค้นจาก https://forestinfo.forest.go.th/Content/file/policy/national_forest_policy.pdf

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างไรให้อยู่รอดและยั่งยืน : บทเรียนจากนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. . วารสารสถาบันพระปกเกล้า

สำนักส่งเสริมการปลูกป่า ส่วนป่าชุมชน. (2540). ความรู้เรื่องป่าชุมชนทั่วไป. กรุงเทพฯ: กรมป่าไม้.

อธิราช จารุโสภณ. (2554). บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรป่าไม้: ศึกษากรณีป่าชุมชนเขาวง ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ (นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-08