การบริหารงานของคลินิกเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลสงฆ์
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, การบริหารโครงการ, ปัจจัยสนับสนุนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานคลินิกเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลสงฆ์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนการบริหารงานของคลินิกเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลสงฆ์ โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 คน โดยมีผู้ให้ข้อมูลในกลุ่มผู้บริหารของโรงพยาบาลสงฆ์ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงฆ์ และคลินิกเลิกหัวหน้าบุหรี่ในโรงพยาบาลสงฆ์ และผู้ให้ข้อมูลในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ทีมสหวิชาชีพของคลินิกเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลสงฆ์ ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานคลินิกเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลสงฆ์ มีความสอดคล้องกับทฤษฎีกระบวนการจัดการ POSDCoRB ของ Luther Gulick and Lyndall Urwick ทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน มีการประชุมกำหนดกิจกรรม ร่วมกันทุกแผนกเป็นประจำทุกเดือนอย่างชัดเจน 2) การจัดองค์การและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ มีผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงฆ์ ให้คำปรึกษากำกับดูแลในการดำเนินงาน โดยมีหัวหน้าคลินิกเลิกบุหรี่เป็นผู้วางแผนและดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน รวมถึงมอบหมายหน้าที่ให้ทีมสหวิชาชีพในการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนด 3) การบริหารบุคลากร มีการแบ่งหน้าที่ให้เหมาะสมตามความสามารถที่ตรงต่อการดำเนินงานของแต่ละแผนก 4) การอำนวยการ มีการมอบหมายหน้าที่และประสานงานไปยังทีมสหวิชาชีพในการดำเนินงานคลินิกเลิกบุหรี่ให้ประสบความสำเร็จ 5) การประสานงาน มีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานแต่ละแผนกในโรงพยาบาลสงฆ์และองค์กรภายนอก 6) การรายงานผลการปฏิบัติงาน มีการรายงานผลต่อที่ประชุม เผยแผ่บทความวิชาการสู่สาธารณะและสื่อออนไลน์ ถึงการปฏิบัติงาน ในขั้นตอนต่างๆ ของโครงการและแผนการปฏิบัติงานครั้งต่อไป 7) งบประมาณสนับสนุนจากโครงการคลินิกเลิกบุหรี่ โดยโรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และงบประมาณสนับสนุนจากองค์กรภายนอก สำหรับปัจจัยสนับสนุนการบริหารงานของคลินิกเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลสงฆ์ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ 1) มีผู้นำที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพพระสงฆ์ 2) มีการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานอย่างชัดเจน 3) มีหน่วยงานแต่ละแผนกให้ความร่วมมือเรื่องภัยที่เกิดจากการสูบบุหรี่ 4) มีองค์กรภายนอกให้ความร่วมมือและคอยสนับสนุน 5) มีการเรียนรู้ และทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาการดำเนินงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Downloads
References
กรมการแพทย์. (2564). ความรู้เรื่องโทษของบุหรี่และความรู้เรื่องภัยบุหรี่ต่อพระสงฆ์. สืบค้นจาก https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=25776
ดำรงค์ ใสภิรมย์. (2563). การศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จการจัดการบริการสุขภาพของโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยต้นแบบ จังหวัดสระแก้ว. (ปริญญาโท). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (ปริญญานิพนธ์). สืบค้นจาก https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5509
พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่, พ. ศ. (2535, 30 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา
(เล่ม 109 ตอนที่ 40, น. 20). สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/792
โรงพยาบาลสงฆ์. (2564). คลินิกเลิกบุหรี่โรงพยาบาลสงฆ์ ได้รับรางวัล "สถานพยาบาลปลอดบุหรี่ดีเด่น" ระดับประเทศ ประจำปี 2565.
สืบค้นจาก https://www.priest-hospital.go.th/activity/171
วิวัฒน์ เหล่าชัย. (2562). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ในพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ. (ปริญญาโท). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.
สืบค้นจาก https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64665
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). โรงพยาบาลสงฆ์ ตั้งคลินิกเลิกสูบบุหรี่. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/?p=235959
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ส. (2562). ปัญหาที่พบเจอเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ที่เสี่ยงก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มของพระสงฆ์.
สืบค้นจาก https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/03/128962/
สุชาดา เรืองรัตนอัมพร. (2558). พระภิกษุกับการสูบบุหรี่. ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ. สืบค้นจาก https://www.thailandquitline.or.th/site/article/view/76
Luther Gulick and Lyndall Urwick. (1973). The Science of Administration.
from https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2553/5470/8/ch2.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์