แนวทางการพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณ์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

ผู้แต่ง

  • พระมหาสมพร พุทฺธวีโร (เกลี้ยงพร้อม) -

คำสำคัญ:

การพิจารณา, อภิณหปัจจเวกขณ์, วิปัสสนาภาวนา, การปฏิบัติธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณ์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอภิณหปัจจเวกขณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อเสนอแนวทางการพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณ์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติ โดยมีระเบียบการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)

ผลการวิจัยพบว่า 1. อภิณหปัจจเวกขณ์ เป็นการพิจารณาความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ และการพิจารณากรรมของตนให้เห็นรูปนามตามความเป็นจริงว่า “เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เรากระทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดี หรือกรรมชั่วก็ตาม จักต้องเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้น” มีองค์ธรรมหลัก 3 ประการ คือ ความเพียร สติ และปัญญา 2. ข้อศึกษาพระพุทธศาสนา มี 3 ประการ คือ (1) อธิศีล ได้แก่ ข้อปฏิบัติเพื่อชำระกาย และวาจาให้เรียบร้อย (2) อธิจิต ได้แก่ ข้อปฏิบัติทำจิตใจให้สงบ (3) อธิปัญญา ได้แก่ ข้อปฏิบัติเพื่อเห็นรูปนามตามความเป็นจริง สามารถหยั่งเห็นอริยสัจ 4 อันเป็นหนทางนำไปสู่ความดับทุกข์อย่างถาวร  3. การพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณ์ มี 3 ระดับ คือ (1) ระดับพิจารณาเพื่อป้องกันภัย (2) ระดับพิจารณาเพื่อละความมัวเมาต่าง ๆ และ (3) ระดับพิจารณาเพื่อเห็นอริยสัจ 4 อันเป็นหนทางนำไปสู่ความดับกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอกสารอ้างอิง

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 32,

(กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์, 2561).

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 34,

(กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์, 2559).

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, พิมพ์ครั้งที่ 55 (ฉบับ

ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ครั้งที่ 24, 2562).

แปลก สนธิรักษ์และสวัสดิ์ สวัสดิ์พินิจจันทร์, ศัพท์ศาสนา, (กรุงเทพมหานคร : หจก.สามัญนิติบุคคลไทย

วัฒนาพานิช, 2503).

มหามกุฏราชวิทยาลัย : พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนทโก) รวบรวมและเรียบเรียง, อธิบายธรรมวิภาค

ปริจเฉทที่ 1, พิมพ์ครั้งที่ 10, (นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2563).

มหามกุฏราชวิทยาลัย, แบบประกอบนักธรรมเอก : อุปกรณ์กัมมัฏฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 30, (นครปฐม : โรงพิมพ์

มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2483).

มหามกุฏราชวิทยาลัย, ธรรมปริทรรศน์ เล่ม 2, (นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2429).

พันตรี ป.หลงสมบุญ (ประยุทธ์ หลงสมบุญ), พจนานุกรมมคธ -ไทย, ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : ร้านเรือง

ปัญญา, 2546).

พระสมชาย กิตฺติสาโร (แก้วเกษม), 2561 “ศึกษาการบรรลุธรรมของพระมหากัจจายนเถระ”, วิทยานิพนธ์

พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย).

พระมหาอาคม สุมงฺคโล (คุณสถิต), 2555 “ศึกษาหลักการเจริญจตุรารักขกมมัฏฐานในคัมภีร์พุทธศาสนาเถร

วาท”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา, (บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-08