การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ประชาชน, วัฒนธรรมทางการเมือง, การมีส่วนร่วมทางการเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการบูรณาการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา
2. เพื่อเปรียบเทียบการบูรณาการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา โดยการประยุกต์ตามหลักอิทธิบาทธรรม โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าทีเทส ค่าเอฟเทส และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ระดับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.89) จำแนกเป็นรายด้าน คือ ด้านตะหนักในผลกระทบของนโยบาย (=3.99) ด้านความสำนึกในหน้าที่ของพลเมือง (=3.89) ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง (=3.88) และด้านมีความสนใจต่อกิจกรรมทางการเมือง (=3.79) ตามลำดับ
- ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกันมีความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
- ผลการนำเสนอ พบว่า 1) ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง ประชาชนควรเสียสละและการสนับสนุนทางการเมือง 2) ด้านความสำนึกในหน้าที่ของพลเมือง ประชาชนควรแสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงาน 3) ด้านตะหนักในผลกระทบของนโยบาย ประชาชนควรมีจิตสาธารณะ และ 4) ด้านมีความสนใจต่อกิจกรรมทางการเมือง ประชาชนควรมีจิตสำนึกให้กับชุมชน สังคม ให้รับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง
Downloads
References
บรรณานุกรม
กมล สมวิเชียร. ประชาธิปไตยกับสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด, ๒๕๒๐.
ณฐมน หมวกฉิม. “การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๔.
ประจวบ จันทร์หมื่น. “ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองกับบทบาทของประชาสังคมในระบบการเมืองท้องถิ่น กรณีศึกษาตำบลเสียว อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ๒๕๕๒.
ประชาชาติธุรกิจ, ระบบ “อุปถัมภ์” ในสังคมไทย, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.prachachat.
net/columns/news-264642 [๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕].
พระสุชาติ สุชาโต (สวน). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคลากรเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๒”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๔.
รัตนา สารักษ์ “การส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองของประชาชนใน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๓.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. การเมือง : แนวความคิดและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ ๑๗. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม, ๒๕๕๑.
Silverman. D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London: Sange.
Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์