การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อองค์การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนทองหลาง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระมหาโกสินทร์ สิริปุญฺโญ (ภูมิไธสง)
  • พระนรินทร์ เอมพันธ์ ผศ.ดร. Mahachulalongkornrajavidyalaya University Chaiyaphum Sangha College
  • ไพทูรย์ มาเมือง

คำสำคัญ:

ประชาชน, การมีส่วนร่วม, การเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง“การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อองค์การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนทองหลาง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อองค์การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนทองหลาง 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อองค์การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนทองหลาง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อองค์การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนทองหลาง โดยการประยุกต์ตามหลักพุทธธรรม โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าทีเทส ค่าเอฟเทส และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1. พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.14) จำแนกเป็นรายด้านดังนี้ คือ ด้านการรับผลประโยชน์ ( = 4.30) ด้านการดำเนินงาน ( = 4.19) ด้านการติดตามและประเมินผล( = 4.19) และด้านการตัดสินใจ ( = 3.93) ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่า นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ผลการวิเคราะห์การนำเสนอ พบว่า 1) ด้านฉันทะ ประชาชนมีความพอใจยินดีที่จะบริหารจัดการท้องถิ่น 2) ด้านวิริยะ ความมุ่งมั่นผลักดันพยายาม 3) ด้านจิตตะ ความตั้งมั่นติดตาม นักการเมืองท้องถิ่นควรมีการรายงานผลที่ชัดเจนและเป็นระบบ 4) วิมังสา การพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญ

Downloads

Download data is not yet available.

References

บรรณานุกรม

ทิพาภัทร เจตจำนงดีตระกูล. (2550) “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน: ศึกษาเฉพาะเขตเทศบาลนครนครปฐม”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พระมหาณรงค์ ธมฺมเมธี (ศรีพันลม). ( 2563).“การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการเลือกตั้งทั่วไปของชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระมหาวรพงศ์ กุสลชโย (มหาจันทร์). (2563). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการรถไฟรางเบาของเทศบาลนครขอนแก่น”, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ณฐมน หมวกฉิม. (2564). “การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สรพล น้อยเชี่ยวชาญ. (2553). “ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบางกรวยจังหวัดนนทบุรี”วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์

อดิศักดิ์ หวังจิตต์. (2550). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน: ศึกษากรณีชาวประมงในองค์การบริหารส่วนตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-08