การกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

นักเรียน,, การกล่อมเกลา, การเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อเปรียบเทียบการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอการกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยการประยุกต์ตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า t-test ค่า F-test และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับการกล่อมเกลาทางการเมือง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D. = 0.53) จำแนกเป็นรายด้านดังนี้ คือ ด้านสถาบันครอบครัว ( = 4.23, S.D. = 0.58) ด้านสถาบันทางการเมือง ( = 4.21, S.D. = 0.57) ด้านสถาบันการศึกษา ( = 4.06, S.D. = 0.66) ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อน ( = 4.01, S.D. = 0.69) และด้านสถาบันศาสนา ( = 3.92, S.D. = 0.76) ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่า นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนนักเรียนที่มีอายุ และการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ผลการวิเคราะห์การนำเสนอ พบว่า 1) ด้านสถาบันครอบครัว นักเรียนควรมีการติดตามรับฟังข่าวสารทางการเมือง 2) ด้านสถาบันการศึกษา นักเรียนควรเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง 3) ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อน นักเรียนควรมีความสนใจและติดตามข่าวสารทางการเมือง 4) ด้านสถาบันศาสนา นักเรียนควรได้รับการปลูกฝังและการสอนให้ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม และ 5) ด้านสถาบันทางการเมือง นักเรียนควรได้รับการถ่ายทอด ค่านิยม และอุดมการณ์ทางการเมือง

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

พระนรินทร์ เอมพันธ์ ผศ.ดร., มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ

รัฐศาสตรดุษฏีบัณฑิต

References

บรรณานุกรม

บรรจง กลิ่นสงวน. (2547) “การกล่อมเกลาทางการเมืองและทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์

พระณัฐพงษ์ ณฏฺฐฺวํโส (สุดใจ). ( 2563).“การกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี”. สารนิพนธ์วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระใบฎีกาคณิน สุวณฺโณ (เร่งทอง). (2565). “พฤติกรรมทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่นในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี”, สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รัตนา สารักษ์. (2563). “การส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองของประชาชนใน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิชัย ตันสิริ. (2539, 1). วัฒนธรรมทางการเมืองและการปฏิรูป, กรุงเทพมหานคร : บริษัทสุขุมและบุตรจำกัด

ศุภวัฒน์ โพธิ์เจริญ. (2547, 1). “การกล่อมเกลาทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุรพร สุวานิโช. (2535) “การกล่อมเกลาทางการเมืองและความรู้สึกมีประสิทธิภาพทางการ เมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครนายก”. สารนิพนธ์ศิลปะ

ศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาศึกษาศาสตร์การสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์

Silverman. D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London: Sange.

Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-18