พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง
คำสำคัญ:
พระพุทธศาสนา, การเมือง, การปกครองบทคัดย่อ
ในการศึกษาพระพุทธศาสนามาทำให้ทราบว่าฐานะเดิมของพระพุทธเจ้านั้นเริ่มต้นด้วยการถือกำเนิดในราชกุลซึ่งมีหน้าที่ในการปกครองโดยตรง ฉะนั้นพระพุทธศาสนาจึงไม่ได้ห่างไกลจากสถาบัน การปกครอง จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้ามีความเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองในหลายกรณี บทบาทหน้าที่ในการเผยแผ่พระธรรมวินัยนี้เป็นบทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์ที่สำคัญ อนึ่งในการเผยแผ่นั้นพระสงฆ์ก็ดำรงตนในบทบาทหน้าที่ดังที่พระพุทธองค์เคยดำรงมาแล้ว เพราะการเผยแผ่ธรรมนั้นเป็น การให้ปัญญาแก่พุทธบริษัทจำต้องตั้งตนอยู่บนพื้นฐานความเป็นธรรม
ดังนั้นบทบาทหน้าที่ทางการเมืองของพระสงฆ์ที่สำคัญ ก็คือการแนะนำสั่งสอนธรรมเกี่ยวกับการเมืองโดยเฉพาะการแสดงหลักการปกครองที่ดีงาม ชอบธรรม และเป็นธรรม สอนให้นักการเมืองหรือผู้ปกครองเป็นนักการเมืองหรือผู้ปกครองที่ดีมีคุณธรรม ทั้งนี้เพราะพระสงฆ์เป็นผู้มีความสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้านเป็นผู้นำทางศาสนามีอิทธิพลต่อการกระตุ้นหรือแนะนำให้เกิดกิจกรรมในสังคมต่าง ๆ อย่างมากมายโดยมุ่งเน้นการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาเผยแพร่และพัฒนาเพื่อให้ประชาชนเกิดสันติสุขอย่างยั่งยืน
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์