ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพุทธศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรสัญชัย ญาณวีโร มมร ล้านนา
  • พระครูปริยัติกิตติวิมล
  • มนตรี วิชัยวงษ์

คำสำคัญ:

Keyword; Philosophy, Efficiency Economics, Buddhist Concept,

บทคัดย่อ

บทความนี้สรุปได้ สองประเด็น คือ 1) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ความมีเหตุผล การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น ตลอดจนคำนึงถึงผลอย่างรอบคอบ ภูมิคุ้มกัน การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยมีเงื่อนไขอยู่ 2 ประการ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

2) หลักธรรมอันเป็นวิธีการแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพุทธศาสตร์ หลักธรรมสัปปุริสธรรมหลักธรรมของสัตบุรุษ และมีความเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตกผลึกกลายเป็นองค์ความรู้ นำไปสู่การปฏิบัติ คือ 1) ความพอประมาณ (มัตตัญญุตา) เป็นผู้รู้จักประมาณ อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน  2) ความมีเหตุผล (ธัมมัญญุตา) เป็นผู้รู้จักเหตุ อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล  -3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว (กาลัญญุตา) เป็นผู้รู้จักกาล ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท ชุมชน ปคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล

เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ เพื่อแสวงหาทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจให้กับสังคมไทยดังนั้นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ "การพึ่งตนเองได้" เศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นให้คนในชุมชนพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพอเพียง ไปจนถึงขั้นการแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน แปรงทรัพย์สินให้เป็นทุน สร้างอาชีพและเสริมทักษะทางวิชาการที่หลากหลาย พัฒนาจุดแข็ง เสริมจุดอ่อนให้แข็งและเกิดการพัฒนา ให้ชุมชนดำรงอยู่ได้ด้วยการยึดหลักแห่งความถูกต้องดีงาม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

คำสำคัญ; ปรัชญา, เศรษฐกิจพอเพียง, พุทธศาสตร์

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-29