พลวัตของการกลายเป็นท้องถิ่นของ “ความเป็นญี่ปุ่น” ในประเทศไทย ตั้งแต่ทศวรรษ 2520

Authors

  • ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

Keywords:

ความเป็นญี่ปุ่น, การกลายเป็นท้องถิ่น, พื้นที่ทางวัฒนธรรม

Abstract

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตของ “ความเป็นญี่ปุ่น” (Japanese-ness) ในสังคมไทยตั้งแต่ทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา ด้วยมุมมองของ “กระบวนการการกลายเป็นท้องถิ่น” (Localization) ที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์อันหลากหลายผ่านแนวคิดวัฒนธรรมประชานิยม (pop culture) ที่มีปฏิบัติการผ่านพื้นทางวัฒนธรรม ในห้วงเวลาทางประวัติศาสตร์ แทนที่จะเป็นการอธิบายด้วยมุมมองของโลกาภิวัตน์ที่ถือว่ากระแสเศรษฐกิจข้ามชาติมีผลต่อการกำหนดวิถีทางวัฒนธรรม นั่นหมายถึงว่า ผู้บริโภคไม่ได้เป็นเพียงผู้ถูกกระทำจากกระบวนการโลกาภิวัฒน์ หรือกระบวนการกลายเป็นญี่ปุ่น (Japanization) เท่านั้น สังคมไทยได้มีส่วนการสร้างสรรค์ความหมายของ “ความเป็นญี่ปุ่น” ในรูปแบบของตนขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ความนิยมของละครที่สร้างมาจากนวนิยายคู่กรรม ต้นทศวรรษ 2530 สู่ความนิยมสินค้าชาเขียวในปลายทศวรรษ 2540 ที่ขยายตัวด้วยตลาดการบริโภคที่มีทั้งลักษณะเฉพาะและการบริโภคของเหล่ามวลชน ไปจนถึงการเกิดขึ้นของชุมชนชาวญี่ปุ่นต้นทศวรรษ 2550 ในแต่ละยุคสมัยผู้บริโภคและผู้เกี่ยวข้องในสังคมไทย ล้วนได้มีส่วนสร้าง “ความเป็นญี่ปุ่น” ที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดมา

Downloads

Published

2016-03-30

Issue

Section

บทความวิชาการ