การบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่นในเมืองไทย

Authors

  • สุนันทา เสียงไทย

Keywords:

การลงทุนโดยตรงของประเทศญี่ปุ่น, การบริหารทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, วัฒนธรรมองค์การบริษัทญี่ปุ่น, ทัศนคติเกี่ยวกับการทำงาน

Abstract

คนไทยกับคนญี่ปุ่นมีความคล้ายกันในหลายๆ ด้าน แต่อย่างไรก็ดียังมีความแตกต่างในด้านของวัฒนธรรมที่มีผลกระทบในการบริหารจัดการ บทความนี้้พูดถึงความสำคัญการลงทุนโดยตรงของประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย และ ความสำคัญของวัฒนธรรมต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ วัฒนธรรมของไทยกับญี่ปุ่นในเชิงเปรียบเทียบ และผลการวิจัยเชิงประจักษ์ที่มีอยู่ เกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อกันระหว่างผู้จัดการชาวญี่ปุ่นกับชาวไทยตลอดจนนัยยะที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะในการบริหารจัดการ จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพบว่าประเทศญี่ปุ่น มีการลงทุนโดยตรงในประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆ ในเอเซีย ซึ่งได้มีส่วนกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามพบว่า การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้จัดการไทยและผู้จัดการญี่ปุ่นเกิดขึ้นยากเนื่องจากมีอุปสรรคด้านภาษาและการสื่อสาร โดยที่ผู้บริหารทั้งสองฝ่ายไม่สามารถสื่อกันด้วยภาษาญี่ปุ่น วัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นก็มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐาน ในแง่ของทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับงาน กล่าวคือการมุ่งงานเป็นหลักเป็นลักษณะธรรมดาของคนญี่ปุ่นทั่วๆ ไป ผู้จัดการญี่ปุ่นมักจะเอาความต้องการและความจำเป็นของงานมาก่อนความต้องการและความจำเป็นส่วนตนและของครอบครัว เส้นขีดคั่นระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตในงานที่บริษัทไม่ชัดเจน ในขณะที่ผู้จัดการไทยจะพยายามสร้างความสมดุล ระหว่างสายงานอาชีพและชีวิตครอบครัวและไม่ยอมให้บริษัทก้าวก่ายชีวิตส่วนตัวของตน เนื่องจากวัฒนธรรมองค์การถือเป็นมาตรการควบคุมด้านพฤติกรรมที่สร้างบรรทัดฐานและค่านิยมอันส่งผลให้พนักงานปฏิบัติงานในวิธีใดวิธีหนึ่งที่ต้องการ เมื่อไหร่ก็ตามที่วัฒนธรรมองค์การที่มาจากบริษัทแม่ ไม่ได้มีการปรับให้เข้ากันได้กับวัฒนธรรมระดับชาติของพนักงานซึ่ง อยู่ในประเทศนั้นๆ ก็อาจจะมีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้งในใจของพนักงาน และหากพนักงานไม่สามารถปรับตัวได้ก็จะ มีพฤติกรรมการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ฉะนั้น ผู้บริหารที่มีความรู้สึกอ่อนไหวต่อเรื่องของวัฒนธรรม ควรให้ความสนใจกับเรื่องของการปรับให้เกิดความสมดุลในเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งของตนในองค์กรที่มีพนักงานที่มีวัฒนธรรมต่างกันออกไป เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุผลสำเร็จในการดำเนินงานของบริษัทลูกได้อย่างมีประสิทธิผล

Downloads

Published

2016-03-30

Issue

Section

บทความรับเชิญ