การศึกษาการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำยืมภาษาจีนในภาษาญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • รัฐกิตติ์ เลิศวิศวะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

คำยืม, ความหมาย, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาจีน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำยืมในภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาจีน เนื่องจากภาษาญี่ปุ่นได้มีการยืมคำศัพท์ที่มาจากภาษาจีนมาใช้ในภาษาของตนเองเป็นจำนวนมาก โดยการที่ญี่ปุ่นมีการยืมคำศัพท์จีนเข้ามาใช้ในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางความหมายของคำยืมเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของแต่ละภาษา มโนทัศน์ ค่านิยมและวัฒนธรรมของแต่ละสังคม จากการศึกษาพบว่า ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางความหมายของคำยืมที่เกิดขึ้นในภาษาญี่ปุ่นเกิดจาก 1) เสียงอ่าน 2) ชนิดของคำ 3) สำนวนโวหาร และ 4) คำศัพท์เฉพาะด้าน เป็นต้น ส่วนประเภทของการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำยืมภาษาจีนในภาษาญี่ปุ่น ได้แก่ 1) ความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่างกันหรือความหมายเชิงบวกลบ 2) ความหมายใกล้เคียงกัน 3) ความหมายตรงกันข้าม 4) ความหมายแคบเข้า 5) ความหมายกว้างออก และ 6) ความหมายแผลง เป็นต้น

References

ชลิตา จินตสุเมธ. (2559). คำยืมในภาษาจีนกลาง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญรัตน์ ปาณะกุล. (2555). ภาษาศาสตร์ภาคประวัติเบื้องต้น. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัฐกิตติ์ เลิศวิศวะ. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบอักษรคันจิในภาษาญี่ปุ่นและอักษรจีนในภาษาจีน. อินทนิลทักษิณสาร, 12(2), 185-197.

วรวุฒิ จิราสมบัติ. (2557). คันจิศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Tranter, N. (2009). Graphic loans: East Asia and beyond. Word, 60(1), 1-37.

Zhao, J. (2006). Japanese loanwords in modern Chinese. Journal of Chinese Linguistics, 34(2), 306-327.

黄力遊. (2004)『日汉同形异义语词典』 外语教学与研究出版社.

郭明辉. (2020)『日汉同形异义语词典』 北京语言大学出版社.

万玲华. (2004)『中日同字词比较研究』 华东师范大学.

汪大捷. (1986)『同形异义日语汉字词典』 中国农业机械出版社.

王永全. (2009)『日汉同形异义语词典』 商务印书馆.

于冬梅.(2012)『中日同形异义汉字词研究』 吉林大学文学院.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31