กลยุทธ์การเรียนคันจิของผู้เรียนชาวไทยที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาเอกในระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • นัฏฐนันท์ กิจจาเกษมกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พัชราพร แก้วกฤษฎางค์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

คันจิ, กลยุทธ์การเรียนภาษา, กลยุทธ์การเรียนคันจิ, ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนคันจิของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยระดับอุดมศึกษาที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นและภาษาญี่ปุ่นธุรกิจเป็นวิชาเอกและมีความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่น (JLPT) ระดับ N4 ถึง N1 จำนวน 272 คน จาก 27 สถาบัน โดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยคำถามแบบปลายปิดเกี่ยวกับกลยุทธ์การเรียนคันจิที่จำแนกตามกลยุทธ์การเรียนภาษาของ Oxford (1990) และข้อมูลคันจิของ
加納 (2001) และคำถามแบบปลายเปิดเกี่ยวกับกลยุทธ์การเรียนคันจิอื่น ๆ รวมถึงแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ผู้เรียนใช้ในการค้นหาข้อมูลคันจิ

          ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนใช้กลยุทธ์การเรียนคันจิเป็นบางครั้ง กลยุทธ์ที่ผู้เรียนใช้บ่อยที่สุดคือ กลยุทธ์การชดเชย ด้านข้อมูลคันจิพบว่า กลยุทธ์ที่ผู้เรียนใช้บ่อยที่สุดคือ กลยุทธ์เพื่อค้นหาความหมายคันจิ นอกจากนี้ผู้เรียนนำแอปพลิเคชัน สื่อบันเทิงภาษาญี่ปุ่นและโซเชียลมีเดียมาใช้ในการเรียนคันจิ ดังนั้นผู้สอนควรชี้แนะให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญในการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนคันจิต่าง ๆ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนคันจิที่ประยุกต์ใช้สื่อการสอนคันจิออนไลน์ให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนและเทคโนโลยีในปัจจุบันซึ่งจะทำให้ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทักษะคันจิและเพิ่มพูนคลังคำศัพท์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้เรียนยิ่งขึ้น

References

คุมิโกะ มิชิมะ และ ยุพกา ฟูกุชิม่า. (2561, 24-25 พฤษภาคม). การศึกษากลวิธีการเรียนรู้คันจิของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางชาวไทยในระดับอุดมศึกษา: เปรียบเทียบระหว่างผู้ที่มีความสามารถทางคันจิสูงและต่ำ. การประชุมวิชาการระดับชาติ IAMBEST ครั้งที่ 3, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร.

ชนัญญ์ธร รุ่งธัญนิธิธรณ์. (2554). การศึกษากลวิธีการเรียนคันจิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 28(2), 58-69.

ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ, น้ำทิพย์ เมธเศรษฐ, สมเกียรติ เชวงกิจวณิช, และ สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข. (2546). การสำรวจความต้องการของนักเรียนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นในมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 3(1), 131-144.

ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ, น้ำทิพย์ เมธเศรษฐ, สมเกียรติ เชวงกิจวณิช, และ สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข. (2547). การสำรวจความต้องการของนักเรียนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นในมัธยมศึกษาตอนปลายระยะที่ 2. วารสารเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ, (1), 223-234.

บุญชม ศรีสะอาด. (2539). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(1), 64-70.

บุษบา บรรจงมณี. (2561). ความคิดเห็นต่อกลยุทธ์การเรียนคันจิของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย: เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของผู้สอนและผู้เรียน. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 8(2), 77-94.

ปฏิยุทธ์ ธันวานนท์. (2561). การสำรวจเพื่อพัฒนาแบบเรียนภาษาญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น: บริหารธุรกิจและภาษา, 6(1), 1-7.

ศิรินทร์ญา เปียกลิ่น. (2558). การศึกษาการใช้และความต้องการสื่ออินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอนอักษรคันจิระดับอุดมศึกษา. วารสารปาริชาต, 28(1), 10-26.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563. http://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/ICT/Survey%20In%20Household/ 2020/fullreport_63.pdf

Bourke, B. (1996). Maximising efficiency in the Kanji learning task [Doctor of Philosophy]. The University of Queensland.

Kim, J. (2018). Analysis of Kanji learning strategies using strategy inventory for learning Kanji (SILK). JSN Journal, 8(1), 144-159.

Oxford, R. L. (1990). Language learning strategies: What every teacher should know. Heinle & Heinle.

ヴィモンヴィタヤー・チョーラッダー. (2011).「タイ人の初級日本語学習者の漢字学習ストラテジー」『日本語教育方法研究会誌』, 18(1), 60-61.

加納千恵子. (2001).「外国人学習者による漢字の情報処理過程について-漢字処理技能の測定・評価に向けて-」『文藝言語研究言語篇』, 39, 45-60.

加納千恵子・大神智春・清水百合・郭俊海・石井奈保美・谷部弘子・石井恵理子. (2011).『日本語教育業書「つくる」漢字教材を作る』. スリーエーネットワーク.

小林英弘. (2017).「タイ人日本語学習者の漢字語彙学習に対するストラテジー使用の現状」チュラーロンコーン大学文学部東洋言語学科外国語としての日本語修士論文.

チャイヤケッタナン・ソムチャイ. (2008).「タイ人日本語学習者の漢字学習に対するビリーフとストラテジー使用」チュラーロンコーン大学文学部東洋言語学科外国語としての日本語修士論文.

渡部倫子. (2015).「非漢字圏学習者のための漢字語彙学習ストラテジー尺度の開発」『漢字・日本語教育研究』, 4, 30-64.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31