ภาพกีฬาในงานวรรณกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่น : กรณีศึกษาผลงาน ของโอกูดะ ฮิเดโอะเรื่อง “อิน เดอะ พูล” และเรื่อง “ไฟต์ คลับ”

ผู้แต่ง

  • ปิยะนุช วิริเยนะวัตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

กีฬา, อินเดอะพูล, ไฟต์คลับ, วรรณกรรม, ญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

           บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาเรื่องการใช้ภาพกีฬาคือ การว่ายน้ำ และการชกมวยในผลงานสองเรื่องของโอกูดะ ฮิเดโอะ ได้แก่เรื่อง “อิน เดอะ พูล” และ “ไฟต์ คลับ” ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าผลงานทั้งสองเรื่องจะตีพิมพ์ห่างกันมากกว่าสิบปี แต่พบจุดร่วมที่คล้ายคลึงกันหลายประการ กล่าวคือ ในผลงานทั้งสองเรื่องนี้ โอกูดะได้บรรยายถึงภาพชายวัยกลางคนของญี่ปุ่นที่อยู่ในภาวะความเครียดจากหน้าที่การงานและตกอยู่ในภาวะสิ้นหวัง พวกเขาได้มีโอกาสเริ่มต้นออกกำลังกายอีกครั้งด้วยกีฬาว่ายน้ำและชกมวย จากการเล่นกีฬาทำให้ตัวละครได้ค้นพบสิ่งที่ตนเองขาดหายไปรวมถึงความหมายของชีวิตอีกครั้ง การว่ายน้ำในเรื่อง “อิน เดอะ พูล” แสดงถึงการปลดปล่อย และทำให้ตัวละครเอกได้ย้อนมองถึงการใช้ชีวิตที่ผ่านมาของตนเองอีกครั้ง ส่วนการชกมวย ในเรื่อง “ไฟต์ คลับ” กระตุ้นให้ตัวละครเกิดความรู้สึกฮึกเหิม และกล้าต่อสู้กับหัวขโมยในตอนท้าย และจากความกล้าหาญของพวกเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริษัทที่เคยปฏิบัติกับพวกเขาอย่างไม่เป็นธรรม

References

นรีนุช ดำรงชัย. (2562). ญี่ปุ่นยุคร่วมสมัย : การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม. สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปิยะนุช วิริเยนะวัตร์. (2563). ภาพสาวเสิร์ฟในผลงานเรื่อง เมียชายชั่ว ของดาไซ โอซามุ และการเปรียบเทียบกับสาวโรงน้ำชาของไทย. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 42(1), 163-179.

Bungeishunju Editorial Department. (2020, March 8). 小説執筆中に巨大な石が動く瞬間. https://books.bunshun.jp/articles/-/2028

Digitalio. (2022, June 1). シーラカンス. https://kotobank.jp/word/%E3%82%B7%E3%83%BC%E3%83%A9%E3%82%AB%E3%83%B3%E3%82%B9-80805

Digitalio. (2022, March 1). 奥田英朗. https://kotobank.jp/word/%E5%A5%A5%E7%94%B0%E8%8B%B1%E6%9C%97-451752

Digitalio. (2022, March 8). ソウルオリンピック(1988年). https://kotobank.jp/word/%E3%82%BD%E3%82%A6%E3%83%AB%E3%82%AA%E3%83%AA%E3%83%B3%E3%83%94%E3%83%83%E3%82%AF%281988%E5%B9%B4%29-1734822

Dasgupta, R. (2009). The “lost decade” of the 1990s and shifting masculinities in Japan. Culture, Society & Masculinity, 1(1), 79-95.

Dasgupta, R. (2017). Articulation of salaryman masculinity in Showa and Post-Showa Japan. Asia Pacific Perspectives, 15(1), 36-54.

Hikida, A. (2007). Multicultural review. Spring 2007, 16(1), 66-67.

大野, M. (2020, March 10). スポーツ文学―フィクションとノンフィクションの境界線―. 笹川スポーツ財団. https://www.ssf.or.jp/ssf_eyes/history/sports/06.html

奥田, H. (2010). อิน เดอะ พูล. (รัตน์จิต ทองเปรม, ผู้แปล). สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม : TPA PRESS. (Original work published 2002).

奥田, H. (2020). コロナと潜水服. 光文社.

奥田, H. (2006). イン・ザ・プール. 文藝春秋.

木下, M. (1987). スポーツ文学の可能性に関する一考察 : Jean Giraudoux, Le Sport, (1928). 体育学研究, 32(2), 99-107.

田口, S. (2012). スポーツ小説研究―Jack Londonのボクシング小説“A Piece of Steak” について. 尚絅学園研究紀要, 6, 33-44.

張, Y. (2017). 1930年、競技場の中の身体を描くということ―阿部知二「スポーツ小説」の可能性を問う―. 日本語文學., 76, 385-404.

張, Y. (2017). スポーツの「外苑/外縁」としての女性 :1930年代初期における阿部知二の「スポーツ小説」を中心に. 日本語文學. 78, 239-256.

日本文藝家協会. (2020). 短篇ベストコレクション 現代の小説2020. 徳間書店.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31