ทุนทางสังคมกับการพัฒนาโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Village One Product: OVOP)

ผู้แต่ง

  • วทัญญู ใจบริสุทธิ์ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ทุนทางสังคม, การพัฒนา, โครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงการนำทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนมาพัฒนาโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Village One Product: OVOP) งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบไปด้วยการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ควบคู่ไปกับการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยแนวคิดทุนทางสังคม (Social Capital) ผลการวิจัยพบว่า ความสำเร็จในการโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Village One Product: OVOP) เกิดมาจากการนำทุนทางสังคมต่างๆ ที่มีภายในชุมชนมาพัฒนาโครงการ OVOP ภายใต้องค์ประกอบของแนวคิดทุนทางสังคมดังต่อไปนี้ ความไว้วางใจ (Trust) ภายใต้โครงการ OVOP เกิดมาจากพื้นฐานของการทำงานเป็นกลุ่ม การรวมตัวเป็นกลุ่มต่างๆ อาทิ สหกรณ์ และกลุมประชาสังคมรูปแบบต่างๆ หรือกล่าวได้ว่าโครงการ OVOP มีกลไกเชิงสถาบันในการดำเนินการและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มอย่างเข้มแข็ง บรรทัดฐาน (Norms) ภายใต้โครงการ OVOP เกิดมาจากการเกื้อกูลระหว่างกันและกันของคนภายในชุมชน มีกฎเกณฑ์อันเข้มงวด มีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน ตลอดจนมีกลไกเชิงสถาบันเพื่อธำรงรักษาบรรทัดฐานที่มีเอาไว้ ในส่วนของเครือข่าย (Networks) ภายใต้โครงการ OVOP เกิดมาจากเครือข่ายที่คนภายในชุมชนร่วมกันสร้างขึ้นมาอย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยการเชื่อมโยงกันผ่านกลุ่มต่างๆ ที่มีภายในและภายนอกกลุ่มและชุมชน

References

กรวรรณ สังขกร. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบทุนทางสังคมของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง. เชียงใหม่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2553). การเป็นสมัยใหม่กับแนวคิดชุมชน. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์สร้างสรรค์จำกัด.
ฉวีวรรณ เด่นไพบูลย์. รองศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่าย International OVOP Policy Association (IOPA). (8 มกราคม 2019). สัมภาษณ์.
ตฤณ สุขนวล. (2545). ตัวตนคนไม้เรียง: วิถีทางชุมชนพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ: รวมทัศน์.
ฑิตยา สุวรรณชฏ. (2544). แนวคิดทฤษฎีสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธีรรัตน์ ชิณแสน. นักวิชาการการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (30 มีนาคม 2562). สัมภาษณ์.
ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี. (2559). ทุนทางสังคมกับข้อเสนอเชิงนโยบายของการบูรณาการทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์. 16(1) ม.ค. – มิ.ย., 99 – 114.
พระมหาอภิเดช เนตรวิลา. (2549). ลักษณะของทุนทางสังคมและการปรับใช้เพื่อการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง: กรณีศึกษาบ้านหนองโสภณ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัขอนแก่น. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พีระ ลิ่วลม. (2542). การศึกษาศักยภาพของทุนทางสังคมของชุมชนไซเบอร์. วิทยานิพนธ์ ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
พัทยา สายหู. (2544). กลไกสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2542). ใน พูนสิน วงศ์กลธูต (บก.) ครบรอบ 60 ปี อาจารย์อัมมาร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สมชาย ชคตระการ และคณะ. (2549). สหกรณ์การเกษตรของประเทศญี่ปุ่น. วารสารญี่ปุ่นศึกษา. 2/2549. 125-160.
สมชาย ชคตระการ. อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตนายกสมาคมนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์. (20 มีนาคม 2562). สัมภาษณ์.
หงษ์ฟ้า ทรัพย์บุญเรือง. อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (19 กุมภาพันธ์ 2562). สัมภาษณ์.
เสรี พงศ์พิศ. (2548). วัฒนธรรมองค์กรของโลกยุคใหม่: เครือข่าย: ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2544). มิติชุมชน วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วย สิทธิ อำนาจ และการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Coleman, J. S. (1988). Social Capital in the Creation of Human Capital. In Social Capital: A Multifaceted Perspectives. Dasgupta, P. and Serageldin, I. eds. Washington D.C.: World Bank.
Haraguchi, N. (2008). The One-Village-One-Product (OVOP) movement: What it is, how it has been replicated, and recommendations for a UNIDO OVOP-type project. Vienna: UNIDO.
Harashima, A. (2012). The Role of Agricultural Cooperatives in Local Development. The OVOP Movement and Local Development in Asia-How to Nurture Rural Entrepreneurs in the Developing World, Igusa, K. (eds.). Oita: Ritsumeikan Asia Pacific University.
Hiramatsu, M. (2008). One Village, One Product Spreading throughout the World. Oita Japan: Office: Oita OVOP International Exchange Promotion Committee.
Matsui, K. (2011). Regional development in japan and the one village one product movement-a proloque. In Igusa, K. (Ed.). The ovop movement and local development in Asia-how to nurture rural entrepreneurs in the developing World. Oita: Ritsumeikan Asia Pacific University.
Matsui, K. (2012). Locality and Dynamics in OVOP Promotion: Oita’s Experince for Regional Development in Developing Countries. Significance of the Regional One-Product Policy: How to Use the OVOP/OTOP Movements, Murayama, H. (eds.). Pathumthani: Thammasat Printing House.
Nobuyoshi, N. & Lutful, K. (2005). One Village One Product Movement: Success Story of Rural Development in Japan and Learning Points for Bangladesh. The Economic science. Vol. 52(4), 71-92.
Oita OVOP International Exchange Promotion Committee. Retrieved March 8, 2016 from http://www.ovop.jp/en/
Putnam, R. D. (1993). The prosperous Community: Social Capital and Public Life. Retrieved March 28, 2016 from http://www.philia.ca.
Schumann, Fred R. (2016). A Study of One Village One Product (OVOP) and Workforce Development: Lessons for Engaging Rural Communities around the World. Guam: University of Guam.
Takai, K. (2012). Endogenous Regional Development. Tokyo: UNCRD.
Yamazaki, J. (2010). A Comparative Analysis of One Village One Product (OVOP) and its Replicability in International Development. Thesis (MA) Institute of Social Studies, The Hague.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30