นโยบายต่างประเทศด้านความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาต่อญี่ปุ่นในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์: ความต่อเนื่องหรือความเปลี่ยนแปลง

ผู้แต่ง

  • จุฑามณี สามัคคีนิชย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

นโยบายต่างประเทศ, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, โดนัลด์ ทรัมป์, ความมั่นคง

บทคัดย่อ

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความสำคัญที่สุดต่อความมั่นคงของญี่ปุ่น เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรหลักของสหรัฐฯ ในการปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะประเด็นปัญหาความมั่นคงเกี่ยวกับการขยายอิทธิพลทางการทหารของจีนและภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ พันธมิตรระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นจึงตั้งบนหลักการผลประโยชน์ร่วมกัน บทความนี้ต้องการศึกษานโยบายต่างประเทศด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ต่อญี่ปุ่นในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (2016-2020) เพื่อวิเคราะห์ว่า นโยบายของสหรัฐฯ ต่อญี่ปุ่นภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์มีลักษณะต่อเนื่องหรือเปลี่ยนแปลงไปจากนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ก่อนหน้าหรือไม่ อย่างไร

จากการศึกษาพบว่า นโยบายต่างประเทศด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ต่อญี่ปุ่นในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ดำเนินภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ “อินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง” ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ “ปักหมุดเอเชีย” ต่อมาเรียกว่า ยุทธศาสตร์ “ปรับดุลอำนาจในเอเชียแปซิฟิก” ในสมัยประธานาธิบดีบารัก โอบามา อย่างไรก็ตาม แม้ว่านโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ในสมัยประธานาธิบดีทรัมป์จะกลับมาให้ความสำคัญต่อเอเชียและใช้แนวทางพหุภาคีนิยมเช่นเดียวกับในสมัยประธานาธิบดีโอบามา แต่ทรัมป์มีเป้าหมายที่แตกต่างจากโอบามา กล่าวคือ การสกัดกั้นอิทธิพลของจีน รัสเซีย และเกาหลีเหนือ โดยสหรัฐฯ ต้องการญี่ปุ่นในฐานะพันธมิตรหลักของสหรัฐฯ ในการถ่วงดุลอำนาจจีนและแก้ไขปัญหาเกาหลีเหนือ ตลอดระยะเวลาที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี นโยบายด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ต่อญี่ปุ่นมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงและผันผวน อันเป็นผลจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยภายในด้านตัวผู้นำ และผลประโยชน์ทางความมั่นคงและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และปัจจัยภายนอกของสหรัฐฯ ได้แก่ นโยบายด้านความมั่นคงของญี่ปุ่นในสมัยนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ปัญหาความขัดแย้งบนคาบสมุทรเกาหลี และการขยายอิทธิพลทางการทหารของจีน

References

นภดล ชาติประเสริฐ. (2017) “ประวัติศาสตร์การเจรจาเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐเกาหลีใน ค.ศ. 1965.” วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 34 (2), 92-113.
รุ่งลาวรรณ รุ่งวัฒน์ภัทร. (2015) “รัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่น มาตรา 9: ความพยายามที่จะแก้ไขของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ.” วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 32 (2), 65-79.
ศิริพร ดาบเพชร. (2014) “Anpo Protests: พัฒนาการของการเคลื่อนไหวทางการเมืองในญี่ปุ่นยุคหลังสงคราม.” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17 (มกราคม-ธันวาคม), 328-338.
ฮิซาฮิโกะ โอกาซากิ. b(1992) มหายุทธศาสตร์สำหรับการป้องกันประเทศของญี่ปุ่น. แปลโดย ไชยวัฒน์ ค้ำชู และกมล เพ็ญศรีนุกูร กรุงเทพฯ: ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Adlakha, Hemant. (2020) “Chinese Experts Think US-China Rivalry Accelerated Abe Shinzo’s Departure.” The Diplomat (2 September)
Brason, Philip. (2019) “Uncovering Japan's involvement in the Korean War.” Japan Times (7 September).
Bisley, Nick. (2020) “Security policy in Asia from Obama to Trump Autopilot, neglect or worse?.” The United States in the Indo-Pacific Obama’s Legacy and the Trump Transition (eds. Oliver Turner and Inderjeet Parmar) Manchester: Manchester University Press.
Frohlich, Thomas C. (2019) “Saudi Arabia buys the most weapons from the US government. See what other countries top list.” USA Today. (26 March)
Fodale, Hannah. (2020) “Abe’s Investment in His Relationship with President Trump has Advanced Japanese Interests.” Debating Japan, 3(1).
Ford, Lindsey. (2020) “The Trump Administration and ‘Free and Open Indo-Pacific.’” Brookings Institution. (May)
Gaouette, Nicole, and Ryan Browne. (2016) “U.S. affirms Japan security backing after Trump nuclear comments.” CNN. (31 March)
Green, Michael. (2000) “The Challenging of Managing U.S.-Japan Security Relations after the Cold War.” New Perspectives on U.S.-Japan Relations (ed. Gerald L. Curtis) Tokyo: Japan Center for International Exchange.
Johnson, Jesse, and Satoshi Sugiyama. (2020) “Trump lauds Abe as Japan’s ‘greatest prime minister’ as bromance set to end.” The Japan Times. (31 August)
Katzman, Kenneth. (2020) “COVID-19 and U.S. Iran Policy.” Congressional Research Service. (13 April)
Kelly, Tim. (2018) “Japan to buy more U.S.-made stealth jets, radar to counter China, Russia.” Reuters. (18 December)
Keneally, Meghan. (2018) “From ‘fire and fury’ to ‘rocket man,’ the various barbs traded between Trump and Kim Jong Un.” ABC News. (12 June)
Kessler, Glenn, Salvador Rizzo and Meg Kelly. (2019) “President Trump has made 9,014 false or misleading claims over 773 days.” The Washington Post. (4 March)
Liptak, Kevin, and Allie Malloy. (2019) “Trump tweets Kim Jong Un an invitation to ‘shake his hand’ at DMZ.” CNN. (29 June)
Liff, Adam P, Ko Maeda. (2018) “Why Shinzo Abe faces an uphill battle to revise Japan’s constitution.” Brookings Institution. (15 December)
Lowrey, Annie. (2009) “So what did Obama do to get the Nobel Peace Prize?” Foreign Policy. (9 October)
Macdonald, Paul K. (2018) “America First? Explaining Continuity and Change in Trump's Foreign Policy.” Political Science Quarterly, 133 (3), 401-434.
Malone, David M., and Yuen F. Khong, ed. (2003) Unilateralism and U.S. Foreign Policy: International Perspectives Boulder, CO: Lynne Rienner Publishers, Inc.
McCurry, Justin. (2012) “Japan’s Shinzo Abe: Will the New Prime Minister Boost Confrontation With China and South Korea?” CNBC. (18 December)
McGregor, Richard. (2017) Asia’s Reckoning: China, Japan, and the Fate of U.S. Power in the Pacific Century. New York: Viking Penguin.
Mealey, Rachel. (2016) “Japanese PM Shinzo Abe meets with Donald Trump in first foreign leader meeting.” ABC News. (18 November)
Midford, Paul. (2018) “New directions in Japan's security: non-US centric evolution, introduction to a special issue.” The Pacific Review, 31(4), 407-403.
Saha, Premesha. (2020) “From ‘Pivot to Asia’ to Trump’s ARIA: What Drives the US Current Asia Policy.” ORF Occasional Paper No. 236. Observer Research Foundation.
Sato, Taketsugu. (2020) “U.S. diplomat confident that U.S., Japan will contribute more to alliance.” The Asahi Shimbun. (31 January)
Schoff, James L. (2018) “Political Change in America and Implications for the US-Japan Alliance.” Asia-Pacific Review, 25(2), 45-63.
Smith, Sheila A. (2017) “U.S.-Japan Relations in a Trump Administration.” Asia Policy, 23, 13-20.
Tatsumi, Yuki. (2017) “The US National Security Strategy: Implications for the Indo-Pacific.” The Diplomat. (21 December)
Tsuruoka, Michito. (2018) “The Donald J. Trump Administration as Seen from Tokyo: Will the US-Japan Alliance Remain Unique?” Istituto Affari Internazionali (IAI), 18(2), 1-16.
Worland, Justin. (2020) “The U.S. Relationship With China Is in Trouble. That's a Challenge for Climate Change.”Time. (21 May)
Yoshino, Naoya. (2020) “With charts, stats and golf, Abe proved Japan's worth to US leader.” Nikkei Asia (26 September)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30