การพัฒนาทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีสิริเกศ

ผู้แต่ง

  • พรเทพ เจิมขุนทด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้ เป็นการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่นโดยใช้บทบาทสมมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีสิริเกศ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนการสอนทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีสิริเกศ 2) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีสิริเกศ  และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีสิริเกศ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 28 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่นโดยใช้บทบาทสมมติ แบบประเมินทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่นโดยใช้บทบาทสมมติ และประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนทักษะการพูดโดยใช้บทบาทสมมติ ผลการวิจัยพบว่า

            แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่นโดยใช้บทบาทสมมติ มีประสิทธิภาพของกระบวนการกับประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติ มีประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 78 / 83

            ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีสิริเกศ คะแนนระหว่างเรียน พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติมากขึ้น ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 จำนวน 28 คน

            และผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีสิริเกศ  พบว่า นักเรียน       มีทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติแล้วทำให้กล้าพูดกับชาวต่างชาติมากขึ้น มีความสุขที่ได้เรียนทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติ มีพัฒนาการที่ดีมากขึ้น และการเรียนทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติ ทำให้เกิดความชอบในภาษาญี่ปุ่นมากขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง ครูสอนทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติ สนุกสนานร่าเริง เข้ากับนักเรียนได้  และเรียนทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น โดยใช้บทบาทสมมติแล้วทำให้มีความมั่นใจในการสื่อสารมากขึ้น

 

References

กมลวรรณ ศรีสุโคตร. การพัฒนาทักษะการพูดและเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. (2554).
กรรณิกา สร้อยบุดดา. (2553). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติในการพัฒนาทักษะด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม..
คมปกรณ์ การพิรมย์. (2556). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. นิติพร เชื้อสุวรรณ. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการฟัง-พูดและเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติกับวิธีสอนแบบปกติ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 2551.บวรจิต พลขันธ์. (2551). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้
สถานการณ์จำลอง. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปาริชาติ เตชะ. (2553). การพัฒนาทักษะการฟังพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้บทบาทสมมติ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พรเทพ เจิมขุนทด. (2557). การจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นทักษะฟัง-พูด ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้แอพพลิเคชั่น. ศรีสะเกษ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. พัฒนา สุมาลี. (2550). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดในโอกาสต่าง ๆ โดยใช้การสอนแบบบทบาทสมมุติ วิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2537). วิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2539). วิธีการสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สุวัฒน์ชัย ถุนาพรรณ์. (2555).การพัฒนาทักษะ
การพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมบทบาท สมมติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29