การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณในจังหวัดเชียงใหม่ : การศึกษาเชิงคุณภาพของปัจจัยที่มีอิทธิพล

ผู้แต่ง

  • ศนิ ไทรหอมหวล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พิณนภา หมวกยอด คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การปรับตัวข้ามวัฒนธรรม, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม, ชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณ, เชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงคุณภาพนี้เป็นการสำรวจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณที่พำนักระยะยาวอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่มาไม่ต่ำกว่า 10 เดือน จำนวน 15 คน  ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ข้อมูลเชิงประจักษ์ถูกรวบรวมโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สะท้อนให้เห็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณ แบ่งเป็น 3 กลุ่มปัจจัยคือ 1) แรงจูงใจในการเดินทาง ประกอบด้วย ปัจจัยผลักดัน ปัจจัยดึงดูด และปัจจัยส่วนบุคคล 2) ช่วงก่อนเดินทางมาพำนักระยะยาว ประกอบด้วย การเข้าอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการอยู่อาศัยในประเทศไทย และด้านประสบการณ์ต่างประเทศที่เคยมีมาก่อน ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ  3) ช่วงเวลาที่พำนักอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย บุคลิกภาพ ทัศนคติ การรับรู้ การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และการสนับสนุนทางสังคม

References

เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และอรไท โสภารัตน์. (2555). การพำนักระยะยาวของคนญี่ปุ่นในจังหวัด เชียงใหม่: การวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดในช่วงก่อนและหลังการพำนัก.วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 29(1) (เมษายน- กันยายน): 16-34.
พิณนภา หมวกยอด และคนอื่นๆ. (2562). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวต่างชาติที่ทำงานกับ
คนไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วารัชต์ มัธยมบุตร. (2550). เหลียวหลังแลหน้าการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวของนักท่องเที่ยวชาว ญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ในโอกาสความสัมพันธ์ 120 ปี ประเทศไทย-ประเทศญี่ปุ่น. สืบค้นจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=111817.
สุดปรารถนา ดวงแก้ว. (2557-2558). การปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นวัยหลัง เกษียณที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 31(2)(ต.ค. 2557 - มี.ค. 2558): 37-75.
สุดปรารถนา ดวงแก้ว. (2558). การย้ายถิ่นเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น: กรณีศึกษาคนญี่ปุ่นวัย
เกษียณในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา(jsn journal). 5(1): 35-52.
Caligiuri, P., Jacobs, R., & Farr, J. (2000). The attitudinal and behavioral openness scale: Scale development and construct validation. International Journal of Intercultural Relations. 24: 27–46.
Harrison, J., Chadwick, M., & Scales, M. (1996). The relationship between cross-cultural adjustment and the personality variables of self-efficacy and self-monitoring. International Journal of Intercultural Relations. 20: 167–188.
McCrae, R., & Costa, P., Jr. (1985). Openness to experience. In R. Hogan & W. Jones (Eds.), Perspectives in personality (Vol. 1, pp. 145–172). Greenwich: Jai Press.
Hongsranagon, P. (2548). Activities Arragement in Chiangmai Province for Long Stay Japanese Pensioner Tourists”. วารสารประชากรศาสตร์. ปีที่ 21 ฉบับที่ 2, หน้า 85-98.
Kim, Y. Y. (2017). Cross-Cultural Adaptation. UK: Oxford University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29